LINE for Business

Help Center
Contact Us

Product & Services
Business Solution
E-Learning
Partners

LINE OA ช่องทางเพิ่มโอกาสการขายที่ธุรกิจ B2B ห้ามมองข้าม!

LINE for Business

การระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อทุกแง่มุมของสังคม ไม่ว่าจะสาธารณสุข การศึกษา การท่องเที่ยว และที่สำคัญคือระบบเศรษฐกิจ กิจการเล็กใหญ่ต้องปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว เพื่อตอบรับกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลง ต่างกันที่กิจการขนาดเล็กมีความยืดหยุ่นและปรับตัวได้ไวกว่า ในขณะที่ธุรกิจแบบ B2B หรือการค้าระหว่างสองธุรกิจ (Business to Business) อาจต้องใช้เวลาที่มากกว่า เพราะเปลี่ยนตั้งแต่การส่งเสริมการขาย การตลาด ไปจนถึงการรักษาความผูกพันของผู้บริโภค และอื่นๆ กลยุทธ์ทางการตลาดที่ดีที่สุดในตอนนี้ก็คือการปูรากฐานออนไลน์ให้แน่น โดยเน้นไปในพื้นที่ที่ผู้บริโภคใช้เวลาอยู่ด้วยมากที่สุด นั่นก็คือ LINE ช่องทางการติดต่อสื่อสารออนไลน์อันดับ 1 ของคนไทย (อ้างอิง ETDA)



LINE OA ส่งเสริมการขายให้ปัง รักษาความสัมพันธ์ให้มั่นคง


อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าสถานการณ์การระบาดส่งผลในหลายๆ แง่ ธุรกิจแบบ B2B เองก็ได้รับผลกระทบไปเต็มๆ ทั้งจากผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัยมากขึ้น แล้วมาเน้นการสั่งซื้อออนไลน์แทน หรือจากทางผู้จัดจำหน่ายเองจำเป็นจะต้องงดให้บริการหน้าร้านในบางช่วง บางพื้นที่ ดังนั้นออนไลน์จึงเป็นคำตอบที่ขาดไปไม่ได้ในเวลานี้ นอกจากจะตอบโจทย์ให้กับผู้บริโภคแล้ว ยังช่วยให้ธุรกิจสามารถขับเคลื่อนต่อไปได้ด้วย

จากการสำรวจ นักการตลาดพบว่า 85% ของลูกค้าเปิดรับข้อเสนอดิจิทัลใหม่ๆ และ 84% ให้ความสำคัญกับประสบการณ์ดิจิทัลมากขึ้น รวมไปถึงการมองหาความน่าเชื่อถือจากแบรนด์ก่อนตัดสินใจซื้อด้วย (อ้างอิง Martech) ลูกค้ามักเสิร์ชหาแบรนด์ในโซเชียลมีเดีย สำรวจคอนเทนต์ และดีลที่น่าสนใจ ดังนั้น LINE Official Account (LINE OA) จึงทำหน้าที่ได้อย่างครบครัน แบรนด์สามารถใส่ข้อมูลหน้าโปรไฟล์เกี่ยวกับธุรกิจ เสนอโปรโมชัน และทำคอนเทนต์ผ่านการบรอดแคสต์ได้ทุกเวลา

เมื่อธุรกิจเลือกใช้ LINE OA ทำให้ได้เปรียบในแง่ความคุ้นเคยของผู้บริโภคด้วย แบรนด์สามารถสื่อสารและให้ความช่วยเหลือกับลูกค้าอย่างเข้าถึงและตรงจุด เพราะสิ่งที่ธุรกิจต้องไม่ละเลยคือแบรนด์ต้องสื่อสารสองทาง (Two-way Communication) เพื่อเป็นการรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าให้เหนียวแน่น เนื่องจากหลายครั้งธุรกิจ B2B มักเป็นฝ่ายรอให้ลูกค้าเข้าหามากกว่า เช่น เมื่อมีปัญหาหรือเมื่อต้องการความช่วยเหลือ นอกจากนี้ LINE OA ยังสามารถใช้แชทบอทในการตอบข้อสงสัยได้ทันที ช่วยให้แอดมินทำงานได้อย่างเต็มที่และเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลดีต่อตัวธุรกิจ B2B เองและทางผู้จัดจำหน่ายก็จะมียอดขายที่ดีตามเช่นกัน




ตัวอย่าง ธุรกิจ B2B เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์และกระตุ้นยอดขาย เช่น TOA Paint ที่มีการพัฒนาระบบ LINE OA ร่วมกันกับบริษัท Zwiz.ai ในการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องผ่านโพสต์ LINE TIMELINE, บรอดแคสต์วิดีโอโฆษณาสี ให้ผู้ติดตามมองเห็นเพิ่มขึ้นจากสื่ออื่นๆ และที่สำคัญที่สุดคือการเชื่อมต่อกับลูกค้าโดยตรง เพื่อยกระดับความสัมพันธ์ให้มั่นคงขึ้น ลูกค้าสามารถติดต่อแบรนด์ได้ทันทีเมื่อต้องการข้อมูลหรือสอบถามบริการต่างๆ อาทิ บริการออกแบบสีบ้าน, บริการติดต่อช่างทางสีที่มีการรับรองจากแบรนด์, ดูข้อมูลสินค้า และกิจกรรมลุ้นโชคจากใบเสร็จ ที่มีของรางวัลมากกว่า 85 รายการ ให้ลูกค้าลงทะเบียนลุ้นโชคง่ายๆ ผ่าน LINE OA และมีการแจ้งเตือนเมื่อมีการประกาศรางวัลในแต่ละครั้ง เพียงเท่านี้ TOA Paint ก็สามารถเชื่อมต่อกับผู้บริโภคได้ โดยที่ทางผู้จัดจำหน่ายก็สามารถทำยอดได้เพิ่มขึ้นจากการส่งเสริมการขายโดยแบรนด์เอง



รู้จักและขยับให้แบรนด์รู้จักลูกค้าดีขึ้นด้วย MyCustomer


เมื่อเทคโนโลยีเติบโต ธุรกิจ B2B ก็มีโอกาสได้ทำความรู้จักกับลูกค้าของตัวเองมากขึ้น แตกต่างจากเมื่อก่อนที่แบรนด์ไม่สามารถเข้าหาลูกค้าได้ในวงกว้าง และไม่สามารถทำการตลาดออนไลน์แบบ B2C ได้ แต่ปัจจุบันไม่เป็นแบบนั้นแล้ว เพราะธุรกิจ B2B เองก็ต้องขยับแบรนด์เข้าหาลูกค้าด้วยเหมือนกัน





ปัจจุบัน LINE OA มีแบรนด์ผู้ใช้งานมากถึง 4 ล้านบัญชี (อ้างอิง LINE) ครอบคลุมทุกธุรกิจ อาทิ แฟชั่น, อาหาร, โรงแรม, เครื่องใช้ไฟฟ้า และยานพาหนะ ซึ่ง LINE OA ก็มีเครื่องมือเสริมประสิทธิภาพการตลาดอย่าง MyCustomer เครื่องมือชั้นยอดในการสื่อสาร วิเคราะห์ และเก็บข้อมูลจากลูกค้าได้โดยตรง เช่น การใช้ Survey หรือ Preference Field ที่สามารถอัปเดตได้ตลอด ทำให้ฐานข้อมูลลูกค้าของเรามีความอัปเดตอยู่เสมอๆ และแบรนด์ยังสามารถเอาข้อมูลตรงนั้นมาทำ Personalized Offer / Promotion ให้กับลูกค้าตามที่เราแบ่งกลุ่มไว้ได้ แล้วถ้าอยากคว้าใจลูกค้าให้อยู่หมัด แบรนด์ก็ยังสานต่อไปสู่การทำ Loyalty Program เพื่อรักษาความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับลูกค้าให้อยู่ด้วยกันแบบยั่งยืนได้ ไม่ว่าจะด้วยการสะสมแต้ม เพื่อแลกส่วนลดหรือของรางวัล, กระตุ้นให้เกิดการซื้อซ้ำด้วยการมอบคูปองส่วนลด, ถ้าลูกค้าส่วนใหญ่ของแบรนด์ใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต เมื่อลูกค้าซื้อสินค้าครบทุกๆ 1,000 บาทก็จะได้รับเงินคืน 15% หรือแบ่งระดับสมาชิกที่ได้สิทธิไปตามระดับต่างๆ




ทีนี้มาดูกันว่าในแต่ละเครื่องมือของ MyCustomer เครื่องมือไหนจะช่วยให้แบรนด์ขยับเข้าใกล้ใจลูกค้าได้บ้าง!

• Broadcast - สามารถเลือกประเภทข้อความได้ทั้ง Text, Photo, Video, Tappable Message และ Personalized Image ซึ่งในการบรอดแคสต์จะเลือกได้ส่งได้จากหลายรูปแบบ เช่น แอคทีฟเฟรนด์ ลูกค้าที่มีปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์ในช่วง 7 วัน หรือ 30 วัน, เลือกตามกลุ่มเป้าหมายที่แบ่งกลุ่มไว้จาก Chat Tags โดยเลือกได้มากกว่า 1 แท็ก และเลือกจาก Action Tag ที่แบรนด์มีการตั้งค่าไว้ตามจุดต่างๆ


ความพิเศษอีกอย่างคือข้อความแบบ Personalized Image ที่ใส่ภาพโปรไฟล์หรือชื่อผู้ติดตามลงในข้อความและรูปที่บรอดแคสต์ได้ กระตุ้นให้ผู้รับรู้สึกถึงความพิเศษ และเพิ่มอัตราการตอบสนองต่อคอนเทนต์นั้นๆ ได้มากขึ้น แต่การเลือกส่งแบบนี้จะไม่สามารถเลือกกลุ่มเป้าหมายได้


• Chats - ตอบแชทลูกค้าแบบ 1-on-1 สลับกับระบบตอบกลับอัตโนมัติ แบรนด์ตั้งค่า Quick Replies ได้ตามคำที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการ เช่น สินค้า, จัดส่ง และโปรโมชัน เป็นต้น ทำให้รวดเร็วในการตอบคำถาม เพื่อสร้างความประทับใจให้ลูกค้า ซึ่งแบรนด์ยังสามารถติด Tag ให้กับลูกค้าแต่ละคนได้ด้วย จะทำให้ง่ายต่อการทำการตลาดต่อไป อย่างการส่งโปรโมชันหรือสิทธิพิเศษ และยัง Add note สำหรับลูกค้าแต่ละรายได้ ว่าใครสนใจอะไร เคยถามหาสินค้าชิ้นไหนมา เมื่อมีการพูดคุยในครั้งถัดไป แอดมินก็แสดงความใส่ใจเพิ่มเติมได้ เช่น ลูกค้าที่ซื้อสีไปทาห้องครัวคราวก่อนสอบถามหาสีใหม่เข้ามา แบรนด์อาจจะถามถึงความพึงพอใจคราวก่อน หรือแสดงความยินดีที่ลูกค้ากลับมาซื้อสินค้าอีกครั้ง


• Audience - สำหรับสร้าง Tag ไว้สำหรับผู้ติดตามแต่ละกลุ่ม ทำให้ง่ายต่อการสื่อสาร ทั้งการส่งคอนเทนต์ หรือมอบสิทธิพิเศษ ทำได้ทั้งสร้างขึ้นมาใหม่ หรือใช้ User Preference Data ก็ได้ ซึ่ง User Preference Data จะสร้างกลุ่มได้จากการดึงข้อมูลจากแบบสอบถามที่แบรนด์เคยสร้าง หรือนำเข้าจากข้อมูลลูกค้าที่แบรนด์มีอยู่แล้วก็ได้ 





• Rich Menu - แถบรูปภาพที่สามารถปรับแต่งได้ และสร้าง Interact ระหว่างบอทกับผู้ติดตามได้ตามความต้องการ แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ Default Rich Menu สำหรับผู้ใช่งานทั่วไปที่ยังไม่ได้ถูกจัดกลุ่ม และ Segmented Rich Menu สำหรับผู้ใช้งานที่ถูกจัดกลุ่มไว้ 


การจัดกลุ่มก็ทำได้จาก Tags ที่แบรนด์ได้สร้างไว้ ซึ่ง Segmented Rich Menu สามารถสร้างได้มากกว่า 2 แบบ แต่ถ้าการเลือกกลุ่มจาก Tags ที่ซ้ำกัน ระบบจะแสดง Segmented Rich Menu จากลำดับความสำคัญที่ตั้งค่าไว้ ลูกค้าแต่ละกลุ่มก็จะเห็น Rich Menu ที่แตกต่างกันไปตามความสนใจ และรู้สึกว่าแบรนด์เข้าใจไลฟ์สไตล์ของเขา เช่น นายเอ ชอบหูฟัง แต่นายบี ชอบลำโพง โปรโมชันที่อยู่บน Rich Menu ที่ทั้งคู่เห็นก็จะไม่เหมือนกัน


• Automation - ข้อความตอบกลับอัตโนมัติ แบรนด์ตั้งค่าการตอบกลับได้ทั้ง Text, Image และ Tappable Image ซึ่งแบรนด์จะสามารถเช็คได้ว่าคำไหนบ้างที่มีการพิมพ์เข้ามาสูงสุด เพื่อนำไปปรับปรุงการตอบกลับหรือรูปแบบการสื่อสาร เช่น ถ้ามีลูกค้าพิมพ์คำว่า 'คอลเลคชัน' สูงสุด แบรนด์อาจจะปรับแต่ง Rich Menu ใหม่ โดยใส่ตัวเลือกคอลเลคชันลงไป แล้วเลือกแอคชันเป็นลิงก์ไปสู่เว็บไซต์ หรือปรากฏคอนเทนต์ที่เป็นคอลเลคชันใหม่ขึ้นมา



• Survey - แบบสอบถามที่สร้างได้ง่ายๆ ในแบบคำถามจะมีประเภทของคำถามให้เลือกได้ 4 ประเภท ได้แก่ Shot answer, Multiple choice, Checkboxes และ Other Options และเมื่อสิ้นสุดแบบสอบถามก็จะมีหน้าขอบคุณ เพื่อให้แบรนด์ใส่ข้อความขอบคุณหรือลิงก์อื่นๆ เช่น แชร์แบบสอบถาม หรือปุ่มที่พาไปโหลด Mission Sticker 


ในการทำแบบสอบถามจะมีลิงก์และ QR Code ไว้ให้แบรนด์นำไปประชาสัมพันธ์ในช่องทางอื่นๆ ได้เพิ่มเติม เมื่อเสร็จสิ้นแคมเปญก็จะมีสถิติและข้อมูลจากลูกค้าให้แบรนด์นำไปวิเคราะห์ทางการตลาดต่อ


นี่แสดงให้เห็นว่า MyCustomer ไม่ใช่แค่เครื่องมือในการส่งคอนเทนต์ไปหาลูกค้าเท่านั้น แต่ยังใช้บริหารความสัมพันธ์ และเป็น Customer Data Platform ให้กับแบรนด์ได้ในทุกๆ เครื่องมือที่ใช้งาน



LINE Ads ยิงโฆษณาได้ตรง เพิ่มยอดขายได้จริง


LINE Ads เหมาะกับการทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักหรือถูกมองเห็นมากขึ้น ด้วยยอดการเข้าถึง 2,500 ล้านครั้งต่อเดือน (อ้างอิง LINE) มีจุดเด่นอยู่ที่ความสามารถในการระบุและเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้อย่างแม่นยำ รวมทั้งเลือกวัตถุประสงค์ได้ตามความต้องการ เพื่อให้ตอบโจทย์การโฆษณาที่หลากหลาย และตำแหน่งที่แสดงผลก็ทำให้โฆษณาทำงานได้มีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งปัจจุบันแบรนด์จะเลือกซื้อโฆษณาด้วยตัวเองหรือซื้อแบบผ่านเอเจนซี่ก็ได้


ซึ่งวัตถุประสงค์ที่แบรนด์สามารถเลือกใช้ในการโฆษณาบน LINE Ads จะมีทั้งหมด 8 อย่างด้วยกัน ได้แก่


• การเข้าชมเว็บไซต์ (Website Visit) ถ้าธุรกิจของคุณมีเว็บไซต์ เพื่อบอกข้อมูลหรือเป็นช่องทางสำหรับเข้าสู่บริการอื่นๆ ก็สามารถใช้วัตุประสงค์นี้เพื่อให้คนคลิกแล้วตรงไปที่เว็บไซต์ได้เลย

• การเข้าถึงและความถี่ (Reach and Frequency) เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการโฆษณาสินค้า เพื่อให้เป็นที่รู้จัก ทำให้ง่ายต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า

• การดูวิดีโอ (Video Views) วิดีโอโปรโมทสินค้าก็สามารถนำมาลงโฆษณาได้ เพื่อเพิ่มจำนวนการดูและการรู้จักสินค้าใหม่ๆ ด้วยวัตถุประสงค์นี้

• เพิ่มเพื่อน (Gain Friends) ธุรกิจที่มีผู้ติดตามมาก = โอกาสในการขายมาก ธุรกิจสามารถเพิ่มจำนวนผู้ติดตามบน LINE OA ได้ง่ายๆ อย่างรวดเร็ว

• ติดตั้งแอปพลิเคชัน (App Installs) ถ้าธุรกิจของคุณมีแอปพลิเคชันสำหรับจำหน่ายสินค้า หรือมอบสิทธิพิเศษต่างๆ สามารถดึงคนให้ติดตั้งแอปพลิเคชันเพิ่มได้จากการโฆษณาแล้วพาไปหน้าดาวน์โหลดได้ทันที

• เว็บไซต์คอนเวอร์ชัน (Website Conversion) ธุรกิจสามารถดึงดูดให้คนเข้าสู่เว็บไซต์ เพื่อทำการลงทะเบียน ร่วมกิจกรรม สั่งซื้อสินค้า หรือสมัครสมาชิกได้ในอัตราที่เพิ่มขึ้น 

• การจำหน่ายสินค้าแบบไดนามิก (Dynamic Product Sales) ในกรณีที่ธุรกิจมีสินค้าหลากหลายประเภท คุณสามารถเลือกใช้วัตถุประสงค์นี้ เพื่อแสดงกลุ่มสินค้าตามความสนใจและพฤติกรรมของลูกค้าเพื่อเพิ่มยอดขายได้

• การมีส่วนร่วมในแอป (App Engagement) หากธุรกิจมีแอปพลิเคชันและมีผู้ติดตั้งเป็นจำนวนหนึ่งแล้ว แต่อยากให้คนเข้าไปใช้งานมากขึ้นก็เลือกโฆษณากระตุ้นให้คนเข้าใช้งานแอปฯ ได้ด้วยคลิกเดียว




LINE Ads จึงกลายมาเป็นช่องทางหลักในการเข้าถึงลูกค้าที่ใช่ และขยายตลาดไปสู่กลุ่มเป้าหมายที่กว้างขึ้น ยกตัวอย่างเช่นแบรนด์ mMilk ที่มีการโฆษณาโปรโมท Home Delivery ในการจัดส่งนมไปให้ลูกค้าโดยตรงในทุกๆ วัน โดยเริ่มจาก


1. เข้าถึงลูกค้า : การโฆษณาบน LINE Ads แบรนด์กำหนดกลุ่มเป้าหมายได้จาก

- การกำหนดกลุ่มเป้าหมายอย่างละเอียด เช่น ความสนใจในเรื่องสุขภาพ, ช่วงอายุ โดยอาจจะเลือกกลุ่มอายุที่ให้ความสนใจกับสุขภาพ หรือกลุ่มคุณพ่อคุณแม่ หรือแม้แต่การกำหนดกลุ่มโดย  ‘Location Targeting’ เนื่องจากสินค้าบางประเภทของแบรนด์ก็จัดส่งเฉพาะบางพื้นที่ ดังนั้น การโฆษณาก็สามารถเลือกจำกัดอยู่แค่ในพื้นที่จัดส่งได้เหมือนกัน

- สร้าง Lookalike Audience เพื่อเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ ที่มีพฤติกรรมใกล้เคียงกับกลุ่มลูกค้าเดิม

2. กำหนดผลลัพธ์ที่ต้องการให้ชัดเจน : ในที่นี้ แบรนด์ได้เลือกวัตถุประสงค์เป็น การเพิ่มเพื่อน แต่เมื่อลูกค้ากดเพิ่มเพื่อนเข้ามาแล้ว แบรนด์ยังมีการกระตุ้นให้เกิดการซื้อด้วยข้อความต้อนรับและ Rich Menu ที่แจ้งสิทธิพิเศษสำหรับสมาชิกใหม่ด้วย

ผลลัพธ์ที่ mMilk ได้กลับมาในการโฆษณาก็คือ แบรนด์ได้ฐานลูกค้าใหม่ เพิ่ม Retention Rate มากยิ่งขึ้น ซึ่งนำไปสู่การปิดการขายได้เลย



โอกาสที่อยู่ในมือธุรกิจ


จากทุกเครื่องมือที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า LINE ได้มีการพัฒนาฟังก์ชันต่างๆ เพื่อให้ธุรกิจสามารถวางแผนการตลาดได้อย่างเต็มที่ เมื่อเทียบกับผลลัพธ์ทางการตลาดที่ได้อย่างมหาศาล นับว่าเป็นช่องทางที่คุ้มค่ามากที่สุด โดยเฉพาะในยุคที่การแข่งขันสูงแบบนี้ ธุรกิจจำเป็นต้องหากลยุทธ์ใหม่ๆ ในการเข้าหาลูกค้าตลอดเวลา LINE OA จึงจะเข้ามาช่วยให้แบรนด์มัดใจกลุ่มเป้าหมายได้ดียิ่งกว่าเดิม




ดู Business Case Studies เพิ่มเติม

LINE for Business

ธุรกิจ FMCG ก้าวนำคู่แข่งด้วยข้อมูล สร้างประสบการณ์เหนือชั้นบน LINE Ecosystem

LINE for Business

Beauty Clinic กับกลยุทธ์สร้างยอดขายผ่าน LINE แม้ยังต้องเผชิญวิกฤต

LINE Business Solution

เจาะลึกพฤติกรรม Silver Age แหล่ง Blue Ocean กำลังซื้อสูงที่แบรนด์ควรลงทุน!

กลับสู่หน้าหลัก Business Case Studies