"ซีรีส์วาย" จากกระแสรองสู่กระแสหลัก ผลัก LINE TV ให้เป็นพื้นที่โฆษณามากมูลค่า!

LINE TV

Tags

IN FOCUS

  • สาววายเป็นกลุ่มที่พร้อมเปิดใจและพร้อมจ่ายให้สินค้าที่สนับสนุนนักแสดงที่ตัวเองชื่นชอบ โดยยอดการจับจ่ายสินค้าสูงสุดเฉลี่ยที่ 10,552 บาทต่อปี
  • เมื่อเทียบกับปี 2019 แล้วการชมซีรีส์วายเติบโตขึ้นถึง 3 เท่าในทุกช่วงวัย และ LINE TV ถือเป็นแพลตฟอร์มอันดับหนึ่งที่ผู้ชมซีรีส์วายเลือกชมและติดตาม
  • LINE TV สามารถสร้างความต้องการซื้อให้กับผู้บริโภคได้มากที่สุด โดยคิดเป็น 59% ซึ่งสูงกว่าอีกสองแพลตฟอร์ม

 

หากพูดถึงปรากฏการณ์คอนเทนต์ที่กำลังมาแรงเป็นอันดับต้นๆ และดูเหมือนจะเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องไม่หยุดก็คงต้องยกให้ "ซีรีส์วาย" จากความสนใจเฉพาะกลุ่ม แต่กลับขยายวงกว้างจนแมสไปทั่วเอเชีย ซึ่งปรากฏการณ์นี้ส่งผลให้นักแสดงได้รับความนิยมมากตามไปด้วย จากคู่จิ้นก็มาสู่คู่จริงนอกจอ (สำหรับการรับงานคู่หรือออกอีเวนต์ต่างๆ) ทำให้แฟนด้อม (Fanclub+Kingdom) ยิ่งฟินไปตามๆ กัน ความน่าสนใจที่นักการตลาดหรือแบรนด์ไม่ควรมองข้ามก็คือ แฟนด้อมของซีรีส์วายนั้นเป็นกลุ่มที่พร้อมเปิดใจและพร้อมจ่ายให้สินค้าที่สนับสนุนนักแสดงที่ตัวเองชื่นชอบ โดยยอดการจับจ่ายสินค้าสูงสุดเฉลี่ยที่ 10,552 บาทต่อปี และค่าใช้จ่ายเพื่อเข้าร่วมอีเวนต์อีกประมาณ 4,103 บาทต่อกิจกรรม (ที่มาข้อมูล LINE Insights) เมื่อมองดูยอดเติบโตของตลาดที่ยังไม่มีแรงตก นาทีนี้แบรนด์ต้องหันมาให้ความสำคัญกับตลาดกลุ่มนี้บ้างแล้ว! เพราะนี่คือน่านน้ำที่มีกำลังซื้อในมือไม่น้อยเลยทีเดียว

นึกถึงซีรีส์วาย นึกถึง LINE TV


LINE TV ถือเป็นแพลตฟอร์มอันดับหนึ่งที่ผู้ชมซีรีส์วายเลือกชมและติดตาม ซึ่งมากถึง 80% ของผู้ชมทั้งหมด และในจำนวนนี้ผู้ชมหลักได้แก่ 'ผู้หญิง' ในสัดส่วนราว 78% เมื่อเทียบกับปี 2019 แล้วการชมซีรีส์วายเติบโตขึ้นถึง 3 เท่าในทุกช่วงวัย ทั้งนี้ พฤติกรรมการชมซีรีส์วายก็ยังน่าจับตามองไม่แพ้กัน เพราะผู้ชมมักเปิดคอนเทนต์ทางโทรทัศน์ทิ้งไว้เมื่อซีรีส์ออกอกาศ พร้อมกับดูผ่านสมาร์ทโฟน และยังมีอัตราการดูซ้ำ (re-run) ที่สูง เพื่อเพิ่มยอดวิวไปพร้อมๆ กับการเก็บรายละเอียดบางฉากบางตอนที่ดูแล้วจิ้นไม่หยุด

ที่ผ่านมามีหลายแบรนด์หันมาทำการตลาดกับฐานลูกค้ากลุ่มนี้บ้างแล้วเหมือนกัน โดยรูปแบบการโฆษณาก็จะมีหลากหลายแบบแตกต่างกันไป เช่น Main Sponsor, Next Episode Sponsor, CO Sponsor หรือ VTR Sponsor หรืออย่างการใช้ผลิตภัณฑ์ในฉากต่างๆ แต่ก็ต้องทำให้ไม่ดูเป็นการยัดเยียดจนเกินไป ซึ่งกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มียอดขายเพิ่มขึ้นจากการโฆษณาแบบ Tie-In สูงสุดตามลำดับ ได้แก่ เครื่องดื่ม, ขนม, สกินแคร์, เสื้อผ้า และเครื่องสำอาง

 

พื้นที่สนับสนุนศิลปิน นาทีนี้ LINE TV ต้องมา


อย่างที่ทราบกันว่าเมื่อซีรีส์วายมีฐานผู้ชมที่แน่นหนา สิ่งที่ตามมาก็คือแฟนด้อมต่างๆ ที่ทั้งรักและให้การสนับสนุนเหล่านักแสดงอยู่เสมอ พวกเขาคือ Supporter ที่อยากเห็นนักแสดงที่ชื่นชอบเติบโตมากยิ่งๆ ขึ้น ดังนั้นวัฒนธรรมหนึ่งของกลุ่มแฟนด้อมที่ต้องการแสดงออก เพื่อให้ศิลปินรับรู้ถึงการสนับสนุนก็คือ 'การซื้อป้ายโฆษณา' เสมือนเป็นโปรเจกต์ที่ทำกันอยู่เป็นประจำตามวาระต่างๆ ที่ไม่ใช่แค่วันเกิด มันไม่เพียงเป็นการส่งสารถึงตัวศิลปินเท่านั้น แต่ยังเป็นการช่วยโปรโมทศิลปินในอีกทางด้วย เพราะป้ายโฆษณาที่พวกเขาซื้อมักจะอยู่ในจุดที่มีคนจำนวนมากเดินผ่าน เช่น ป้ายโฆษณาตามสถานีรถไฟฟ้าของไทยทั้ง BTS และ MRT และล่าสุดก็ทุ่มซื้อโฆษณาท้ายรถตุ๊กตุ๊ก รวมไปถึงร้านรถเข็นตามจุดต่างๆ ทั่วกรุงเทพด้วย

แล้วถ้าพูดถึงช่องทางการซื้อโฆษณาแล้ว LINE TV เองก็เป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มที่ตอบโจทย์อยู่ไม่น้อยเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการซื้อโฆษณาที่สามารถเลือกได้เลยว่าให้ไปปรากฏอยู่ในหมวดซีรีส์วาย เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายโดยเฉพาะ หรือหากเลือกโฆษณาในตำแหน่งอื่นๆ ก็เป็นการเปิดกว้างให้ผู้ชมที่ไม่เคยดูซีรีส์วายได้หันมาทำความรู้จักศิลปินและผลงานมากยิ่งขึ้น ซึ่งแฟนด้อมสามารถเข้ามาซื้อโฆษณาได้หลากหลายตำแหน่ง อาทิ Pre-roll ads, Smart Channel และ Master Banner บน LINE Ecosystem ที่เข้าถึงคนได้มากกว่า 47 ล้านคน นี่จึงเป็นข้อได้เปรียบที่จะทำให้โฆษณาสนับสนุนนี้เข้าถึงการมองเห็นของคนทั่วประเทศ ไม่ใช่เฉพาะบางพื้นที่เท่านั้น

การซื้อโฆษณานั้นไม่ได้จำเป็นว่าต้องเป็นโฆษณาสินค้าเพื่อการขายเพียงอย่างเดียว แต่เป็นโฆษณาที่ต้องการสื่อสารข้อความบางอย่างออกไปก็ได้ ซึ่งโฆษณานี้ก็จะไปปราฏตัวกับผู้บริโภคตามวัตถุประสงค์ต่างๆ ที่ผู้ซื้อสามารถกำหนดได้ ผลที่ตามมาคือโฆษณาจะยิ่งอิมแพ็คกว่าเก่า และศิลปินที่พวกเขารักก็จะถูกพบเห็นอยู่ในชีวิตประจำวันของคนอีกหลายล้านคน

LINE TV ยืนหนึ่งของกระแสซีรีส์วาย


ตอนนี้คงกล่าวได้แล้วว่า LINE TV คือแพลตฟอร์มทีวีออนไลน์ที่มีซีรีส์วายเสิร์ฟผู้ชมมากที่สุด ซึ่งจากการคาดการณ์ตลาดนี้น่าจะมีมูลค่ารวมถึง 1,000 ล้านบาท (ที่มาข้อมูล MGR Online) และอย่างที่เราได้กล่าวไปข้างต้นว่าพฤติกรรมของสาววายโดยส่วนใหญ่นั้นพร้อมจ่ายเพื่อสนับสนุนนักแสดงที่รัก นี่เลยก่อให้เกิดธุรกิจใหม่ที่เรียกว่า “Y-Economy” ไม่เพียงแต่แฟนด้อมเท่านั้นที่ลงมาสนับสนุนศิลปินในพื้นที่นี้ได้ แต่แบรนด์ไหนที่ลงมาทำการตลาดก่อนก็จะส่งผลดีต่อธุรกิจในระยะยาว เพราะไม่ใช่แค่ได้รับการยอมรับจากสาววาย แต่ยังจะได้ความจงรักภักดีต่อแบรนด์อย่างเหนียวแน่นกลับมาด้วย ฉะนั้น แบรนด์ไหนที่มีกลยุทธ์ในมือแล้ว ต้องไม่ลืมมาคว้าใจสาววายด้วยเครื่องมือจาก LINE for Business หรือแฟนด้อมไหนที่ต้องการสนับสนุนศิลปินในดวงใจก็อย่ารอช้า!