• Home
  • LINE Ads Guidelines
{{ tab }}

นโยบายการลงโฆษณา LINE Ads

การทำความเข้าใจนโยบายของ LINE Ads

นโยบายของ LINE Ads เป็นแนวทางเกี่ยวกับประเภทเนื้อหาโฆษณาที่ได้รับอนุญาต ผู้ลงโฆษณามีหน้าที่ในการทำความเข้าใจและปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับและนโยบายที่เกี่ยวข้องทั้งหมด LY Corporation และ/หรือ บริษัทในกลุ่มตามที่ LY Corporation กำหนด (ต่อไปนี้เรียกรวมกันว่า "บริษัท") ขอสงวนสิทธิ์ในการปฏิเสธ อนุมัติ ยกเลิกหรือลบโฆษณาใด ๆ ออกด้วยเหตุผลใด ๆ ก็ตามตามดุลยพินิจของบริษัทแต่เพียงผู้เดียว

 เนื้อหาในเอกสารนี้ไม่ใช่การให้คำปรึกษาหรือความเห็นทางกฎหมายแต่อย่างใด และอาจมีกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณานอกเหนือจากที่ระบุในนโยบายนี้ ท่านจึงควรติดตามและตรวจสอบกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

 ทั้งนี้ บริษัทจะไม่รับผิดต่อการนำนโยบายฉบับนี้ไปใช้ หรือกรณีอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับนโยบายฉบับนี้ ท่านจะไม่เรียกร้องให้บริษัท เจ้าหน้าที่ ตัวแทน และพนักงานของบริษัท ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ท่าน และท่านจะไม่ฟ้องร้องคดีหรือดำเนินการใด ๆ อันเกิดจากหรือเกี่ยวกับการใช้นโยบายหรือการละเมิดนโยบายฉบับนี้ รวมถึงไม่ให้บุคคลดังกล่าวมีความรับผิดหรือต้องชำระค่าใช้จ่ายใด ๆ ที่เกิดจากการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน การสูญเสีย ความเสียหาย การฟ้องร้องคดี การตัดสินคดี ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี และค่าทนายความ

ผลิตภัณฑ์และเนื้อหาที่ห้ามลงโฆษณา

1. ผลิตภัณฑ์บุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า ยาสูบหรือผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผลิตภัณฑ์ช่วยเลิกบุหรี่ที่มีสารนิโคตินเป็นส่วนประกอบ 

2. สกุลเงินดิจิทัลหรือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสกุลเงินดิจิทัลธุรกิจสินเชื่อผู้บริโภคหรือการชักชวนการซ้ือขายล่วงหน้า การซ้ือขายเงินตราต่างประเทศหรือลงทุนอสังหาริมทรัพย์ (เป็นผลิตภัณฑ์ที่ให้บริการโดยสถาบันการเงิน ธนาคาร ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และ ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งได้รับอนุญาตจากหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง) (พิจารณาเป็นกรณี) 

3. อาวุธยุทธภัณฑ์ (ทุกประเภท) วัตถุและสารอันตราย

4. การขายข้อมูล (Sale of Information) ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลส่วนบุคคลหรือไม่ก็ตาม รวมไปถึงการเปิดเผยความลับทางการค้าของผู้อื่น  

5. ธุรกิจแบบพีระมิด การขายตรงแบบแอบแฝงแชร์ลูกโซ่ หรือธุรกิจอื่นใดที่มีลักษณะเดียวกัน ที่ไม่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เช่น มีลักษณะที่มุ่งเน้นให้สมาชิกต้องซื้อสินค้าเพื่อร่วมเข้าร่วมธุรกิจ ไม่มุ้งเน้นการขายสินค้าต่อผู้บริโภคแต่มุ่งเน้นให้สมาชิกชักชวนบุคคลอื่นเข้าร่วมเครือข่าย รายได้มาจากการแนะนำที่คำนวณจากจำนวนสมาชิกที่มาเข้าร่วมเครือข่ายมากขึ้น สินค้ามีราคาสูงแต่คุณภาพไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีนโยบายรับคืนสินค้าเนื่องจากระบบการจ่ายเงินเป็นการนำเงินจากผู้สมัครสมาชิกรายใหม่มาจ่ายให้กับสมาชิกรายเก่าๆ ต่อๆ กันไป เป็นระบบพีระมิด เป็นต้น

6. บริการซื้อขาย หรือบริการเพาะพันธุ์สัตว์ทุกชนิด และบริการซื้อขายอวัยวะสัตว์ หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจากสัตว์ เช่น ไข่, ขน, ไขมัน, เลือด หรือของเหลวใดๆ ในร่างกายสัตว์ ยกเว้นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสัตว์เพื่อการบริโภค ที่ถูกต้องตามกฎหมายและมีเอกสารยืนยันรับรอง เป็นต้น รวมถึงบริการโรงพยาบาลสัตว์ คลินิกรักษาสัตว์ และผลิตภัณฑ์ยารักษาหรือบำรุงสัตว์, อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้กับสัตว์ นอกจากนี้ ห้ามโฆษณาพันธุ์ไม้หวงห้ามตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ หรือเมล็ดพันธุ์ควบคุม พืชสงวน พืชต้องห้าม และพืชอนุรักษ์ตามกฎหมายว่าด้วยพันธุ์พืช แต่ไม่รวมถึงการโฆษณาที่เกี่ยวกับการซื้อขายต้นไม้หรือไม้ประดับทั่วไป และพืชผักผลไม้หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์เพื่อการบริโภค ที่ไม่ขัดต่อกฎหมายและมีใบอนุญาตหรือเอกสารรับรอง

7. การให้กู้ยืมเงินในเชิงฉ้อโกง และ การระดมทุนที่มีวัตถุประสงค์อันไม่ชอบด้วยกฎหมาย 

8. สินค้าท่ีเข้าข่ายละเมิดลิขสิทธ์ิหรือละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น 

9. เว็บไซต์ท่ีเกี่ยวกับการสะสมแต้มที่เข้าลักษณะเป็นการพนัน หรือเว็บไซต์ที่มีลักษณะเป็นการเสี่ยงโชคโดยไม่ได้รับอนุญาตจากกรมการปกครอง 

10. การทําการตลาดประชาสัมพันธ์ออนไลน์ โดยได้ค่าตอบแทนในลักษณะการแบ่งปันรายได้ 

11. ยาเสพติด และวัตถุออกฤทธิ์ / ยาอันตราย และยาควบคุมพิเศษ

  • ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ไม่อนุญาตให้ทำการโฆษณาต่อประชาชนทั่วไป (สามารถทำการโฆษณาโดยตรงต่อผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ได้ แต่ต้องปฏิบัติตามระเบียบและหลักเกณฑ์ของสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งรวมถึงการขออนุญาตโฆษณาแล้วแต่กรณี) 

12. องค์กรไม่แสวงหาผลกําไร องค์กรสาธารณะประโยชน์ หรือ องค์กรพัฒนาเอกชน (อพช.)

  • ต้องมีเอกสารการจดทะเบียน หรือใบอนุญาตจัดตั้งหรือเอกสารการอนุญาตให้ดำเนินการในประเทศไทยที่ออกโดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย หรือ คณะกรรมการพิจารณาการดำเนินงานขององค์การเอกชนต่างประเทศ หรือ กระทรวงแรงงานแล้วแต่กรณี

13. ผลิตภัณฑ์หรือบริการท่ีเก่ียวข้องกับการพนัน เช่น ปาจิงโกะ เว็บไซต์พนันบอล หวย เกมส์ท่ีต้องห้ามตามกฎหมาย 

14. ผลิตภัณฑ์หรือบริการสําหรับผู้ใหญ่ (รวมถึง ร้านเซ็กส์ช็อป เช่น สถานบริการอาบอบนวดที่ผิดกฎหมายและ ศีลธรรมอันดี ร้านค้าสำหรับผู้ใหญ่ เช่น ร้านวิดีโอสำหรับผู้ใหญ่ กิจการสถานบันเทิงอื่นสำหรับผู้ใหญ่ที่ต้องได้รับ อนุญาตหรือจดทะเบียนและกิจการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่มีลักษณะเดียวกัน)

15. อาหารทารก (เช่น นมผงสูตรหนึ่ง สูตรสอง สำหรับเลี้ยงทารก) และอาหารเสริมสําหรับทารก

16. การตั้งครรภ์แทน (อุ้มบุญ) เนื้อหาท่ีเก่ียวข้องกับบุตรบุญธรรม การรับหรือยกเด็กให้คนอื่นนอกจากญาติของเด็ก 

17. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงการซื้อขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด (ท้ังทางตรงและทางอ้อม)  

18. ชุดตรวจโควิด-19 แบบตรวจหาแอนติบอดี

  • ผลิตภัณฑ์เหล่านี้เป็นเครื่องมือแพทย์ที่ต้องขายเฉพาะแก่สถานพยาบาลของรัฐ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลเฉพาะทาง คลินิกเวชกรรม คลินิกเฉพาะทางด้านเวชกรรม คลินิกเทคนิคการแพทย์หรือสหคลินิกที่จัดให้มีการประกอบวิชาชีพทางเวชกรรมหรือเทคนิคการแพทย์ ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล จึงไม่อนุญาตให้ขายหรือทำการโฆษณาต่อประชาชนทั่วไป (สามารถทำการโฆษณาโดยตรงต่อผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ได้ แต่ต้องแจ้งการโฆษณาดังกล่าวกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข)

เนื่องจาก LINE Ads เป็นแพลตฟอร์มที่เข้าถึงได้โดยบุคคลทั่วไปซึ่งไม่ได้มีการจำกัดการเข้าถึงเฉพาะแต่บุคลการทาง การแพทย์ ดังนั้น บริษัทจึงไม่อนุญาตให้ลงโฆษณาที่เกี่ยวข้องกับชุดตรวจ COVID-19 แบบตรวจหาแอนติบอดี บน LINE Ads 

  • สำหรับชุดตรวจโควิด-19 แบบตรวจหาแอนติเจนด้วยตัวเอง (ATK) โปรดตรวจสอบผลิตภัณฑ์และบริการที่มีการควบคุม

19. โฆษณาคริปโทเคอร์เรนซี (เนื่องจากการโฆษณาคริปโทเคอร์เรนซีสามารถทำได้ในช่องทางทางการของผู้ประกอบธุรกิจเท่านั้น)

ผลิตภัณฑ์และบริการที่มีการควบคุม

1. อาหาร เครื่องดื่ม อาหารเสริม และยาสามัญประจำบ้าน

สามารถโฆษณาได้ แต่ต้องปฏิบัติตามระเบียบและหลักเกณฑ์ของสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งรวมถึงการขออนุญาตโฆษณาแล้วแต่กรณี ยกเว้น ประเภทอาหารต่อไปน้ีที่ไม่ต้องมีเครื่องหมาย อย. อาหารกลุ่มน้ี ผู้ผลิตไม่ต้องขออนุญาตผลิตภัณฑ์ แต่ต้องแสดงฉลากตามที่กฎหมายกําหนด 

  • ผลิตภัณฑ์จากพืช ได้แก่ ข้าวกล้อง ธัญพืชต่าง ๆ เมล็ดถั่วแห้ง งา พริกแห้ง ข้าวเกรียบ (ไม่ทอด) ธัญพืชชนิดบด ผง พริกป่น 
  • ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ได้แก่ ปลาแห้ง กุ้งแห้ง รังนกแห้ง ไข่เค็มดิบ กะปิ ปลาร้าผง/ดิบ ปลาส้ม น้ําบูดู นํ้าผ้ึง (ท่ีผลิตจากสถานท่ีผลิตไม่เป็นโรงงาน) 

1.1 กัญชาและกัญชง

*ปรับปรุงล่าสุดถึงวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2565 โดยอาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อพระราชบัญญัติกัญชา กัญชง พ.ศ. . . . มีผลใช้บังคับ


ในนโยบายฉบับนี้ ให้ “กัญชา” และ “กัญชง” มีความหมายความครอบคลุมถึง

ก. พืชกัญชาหรือกัญชงทั้งต้น และส่วนของพืชดังกล่าวที่ไม่ได้แปรรูป

ข. สารสกัดจากกัญชาหรือกัญชง และน้ำมันจากเมล็ดกัญชาหรือกัญชง

ค. อาหารหรือเครื่องดื่มที่ปรุงสำเร็จพร้อมรับประทาน (ประกอบในร้านอาหาร) ที่มี ก. หรือ ข. ข้างต้นเป็นส่วนผสม

ง. ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป (เช่น อาหารและผลิตภัณฑ์สมุนไพร) ที่มี ก. หรือ ข. ข้างต้นเป็นส่วนผสม


ก. พืชกัญชาหรือกัญชงทั้งต้น และส่วนของพืชดังกล่าวที่ไม่ได้แปรรูป

      (1) ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวสามารถจำหน่ายหรือโฆษณาได้ ภายใต้เงื่อนไขดังนี้

  • สื่อโฆษณาจะต้องไม่กล่าวอ้างถึงการใช้เพื่อสันทนาการ
  • ข้อความใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคุณประโยชน์อื่น จะต้องเป็นความจริงและมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับ 

      (2) การโฆษณากัญชาจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขเฉพาะตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ดังนี้

  • ผู้ลงโฆษณาจะต้องมีอายุ 20 ปีขึ้นไป (ประกาศ ฯ ข้อ 2)
  • สื่อโฆษณาจะต้องไม่แสดงข้อความหรือรูปภาพของการสูบกัญชาในที่สาธารณะ (ประกาศ ฯ ข้อ 2 (1))
  • สื่อโฆษณาจะต้องมีคำเตือนว่า “ไม่จำหน่ายให้แก่ผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปี สตรีมีครรภ์ หรือสตรีให้นมบุตร เนื่องจากผิดกฎหมาย” (ประกาศ ฯ ข้อ 2 (2), (3))


ข. สารสกัดจากกัญชาหรือกัญชง และน้ำมันจากเมล็ดกัญชาหรือกัญชง

      (1) ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ผลิตภัณฑ์ดังต่อไปนี้สามารถจำหน่ายและโฆษณาได้โดยไม่ต้องขอใบอนุญาต

  • สารสกัดที่มีสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol, THC) ไม่เกินร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนัก เฉพาะที่ได้รับอนุญาตให้สกัดจากพืชกัญชาหรือกัญชงที่ปลูกภายในประเทศ ที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
  • น้ำมันจากเมล็ด เฉพาะที่ได้จากพืชกัญชาหรือกัญชงที่ได้จากการปลูกภายในประเทศ

      (2) การโฆษณาสารสกัดหรือน้ำมันจากกัญชาจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขเฉพาะ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ดังนี้

  • ผู้ลงโฆษณาจะต้องมีอายุ 20 ปีขึ้นไป (ประกาศ ฯ ข้อ 2)
  • สื่อโฆษณาจะต้องไม่แสดงข้อความหรือรูปภาพของการสูบกัญชาในที่สาธารณะ (ประกาศ ฯ ข้อ 2 (1))
  • สื่อโฆษณาจะต้องมีคำเตือนว่า “ไม่จำหน่ายให้แก่ผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปี สตรีมีครรภ์ หรือสตรีให้นมบุตร เนื่องจากผิดกฎหมาย” (ประกาศ ฯ ข้อ 2 (2), (3))

      (3) สารสกัดหรือน้ำมันจากเมล็ดที่ไม่เข้าลักษณะตามข้อ ข(1) ข้างต้น ไม่สามารถจำหน่ายหรือโฆษณาได้


ค. อาหารหรือเครื่องดื่มที่ปรุงสำเร็จพร้อมรับประทาน (ประกอบในร้านอาหาร) ที่มีกัญชาหรือกัญชงเป็นส่วนผสม 

 

*ปรับปรุงล่าสุดถึงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2565 โดยอาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อพระราชบัญญัติกัญชา กัญชง พ.ศ. . . . มีผลใช้บังคับ 

      (1) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 424) ฉบับวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร ฯ ห้ามมิให้ใช้ดอกกัญชาหรือดอกกัญชงเป็นวัตถุดิบของอาหาร ดังนั้นอาหารและเครื่องดื่มที่มีดอกกัญชาหรือดอกกัญชงเป็นส่วนผสมจะไม่สามารถจำหน่ายหรือโฆษณาได้ อย่างไรก็ตาม อาหารหรือเครื่องดื่มที่ปรุงสำเร็จพร้อมรับประทานที่มีส่วนอื่นของกัญชา (ราก ใบ และอื่น ๆ) เป็นส่วนผสมนั้น สามารถโฆษณาได้

      (2) นอกจากนี้ ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ได้กำหนดให้แสดงคำเตือนดังต่อไปนี้ในสื่อโฆษณาอาหารหรือเครื่องดื่มปรุงสำเร็จที่ผสมกัญชาหรือกัญชง:

  • “บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี สตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร ควรงดเว้นรับประทาน”
  • “ถ้ามีอาการผิดปกติ ควรหยุดรับประทานทันที และถ้ามีอาการรุนแรงให้ปรึกษาหรือพบแพทย์โดยเร็ว”
  • “ผู้ที่แพ้กัญชาหรือกัญชง ควรงดเว้นรับประทาน”
  • “รับประทานแล้วเกิดอาการง่วง ซึม ให้หลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะหรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล”


ง. ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่มีกัญชาหรือกัญชงเป็นส่วนผสม

      (1) ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม

  • ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 424) ฉบับวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร ฯ ห้ามมิให้ใช้ดอกกัญชาหรือดอกกัญชงเป็นวัตถุดิบของอาหาร ดังนั้นอาหารและเครื่องดื่มที่มีดอกกัญชาหรือดอกกัญชงเป็นส่วนผสมจะไม่สามารถจำหน่ายหรือโฆษณาได้ อย่างไรก็ตาม อาหารหรือเครื่องดื่มที่มีส่วนอื่นของกัญชา (ราก ใบ และอื่น ๆ) เป็นส่วนผสมนั้น ถ้ามีเลขที่จดแจ้งสารบบอาหารก็สามารถโฆษณาได้
  • อาหารและเครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ผลิตจาก SME, OTOP หรือโรงงาน) ที่มีใบกัญชาหรือใบกัญชงเป็นส่วนผสม จะต้องมีเลขที่จดแจ้งสารบบอาหารสำหรับผลิตภัณฑ์นั้น 
  • นอกจากนี้ การโฆษณาคุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์อาหาร จะต้องได้รับใบอนุญาตให้โฆษณาอาหารด้วย

      (2) ผลิตภัณฑ์สมุนไพร

  • ตัวอย่างผลิตภัณฑ์สมุนไพร ได้แก่ ยาแผนโบราณ เวชสำอาง และโภชณเภสัช ที่มีสมุนไพรเป็นส่วนผสม
  • ผลิตภัณฑ์สมุนไพรอาจมีส่วนใด ๆ ของกัญชา/กัญชงเป็นส่วนผสมก็ได้ รวมถึงส่วนดอกและสารสกัดด้วย
  • ผลิตภัณฑ์สมุนไพรจะต้องมีใบทะเบียนผลิตภัณฑ์สมุนไพร
  • การโฆษณาผลิตภัณฑ์สมุนไพรจะต้องมีใบอนุญาตโฆษณาผลิตภัณฑ์สมุนไพร

      (3) ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง

  • เครื่องสำอาง (รวมถึง เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของกัญชา กัญชง หรือกระท่อมด้วย) สามารถโฆษณาได้โดยไม่ต้องขออนุญาต แต่การโฆษณาห้ามอ้างสรรพคุณเกินขอบเขตของเครื่องสำอาง (เช่น รักษาโรค) และต้องปฏิบัติตามระเบียบและหลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข

1.2 กระท่อม

*ปรับปรุงล่าสุดถึงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2565

  • กระท่อมสดทั้งต้น ใบ หรือส่วนอื่น ๆ ของกระท่อมสด สามารถจำหน่ายหรือโฆษณาได้โดยไม่ต้องขออนุญาตโฆษณา ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ด้านล่าง
  • อาหารหรือเครื่องดื่มที่ปรุงสำเร็จ (ประกอบในร้านอาหาร) ที่มีส่วนใด ๆ ของกระท่อมเป็นส่วนผสม สามารถจำหน่ายหรือโฆษณาได้ 
  • ผลิตภัณฑ์อาหารหรือเครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ผลิตจาก SME, OTOP หรือโรงงาน) ที่มีส่วนใด ๆ ของกระท่อมเป็นส่วนผสม จะต้องมีเลขที่จดแจ้งสารบบอาหารสำหรับผลิตภัณฑ์นั้น 
  • นอกจากนี้ ในกรณีที่มีการโฆษณาสรรพคุณอาหารจะต้องได้รับใบอนุญาตให้โฆษณาอาหารด้วย


หลักเกณฑ์การลงโฆษณากระท่อม ตามพระราชบัญญัติพืชกระท่อม พ.ศ. 2565

  • หากเนื้อหาโฆษณาเกี่ยวข้องกับการนำเข้าหรือส่งออกใบกระท่อม ผู้โฆษณาจะต้องมีใบอนุญาตนำเข้าหรือส่งออกใบกระท่อมตาม พ.ร.บ. พืชกระท่อม ฯ ด้วย (ม.10)
  • สื่อโฆษณาใบกระท่อมหรืออาหารที่มีกระท่อมเป็นส่วนประกอบ จะต้องไม่มีกลุ่มเป้าหมาย ข้อความหรือภาพใด ๆ เป็น (1) บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่า 18 ปี (2) สตรีมีครรภ์ หรือ (3) สตรีให้นมบุตร โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขสามารถร่วมกันประกาศกำหนดกลุ่มเป้าหมายต้องห้าม และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเพียงผู้เดียวสามารถประกาศกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการโฆษณาเพิ่มเติมในภายหลังได้ (ม. 24)
  • สื่อโฆษณาใบกระท่อม จะต้องไม่สื่อถึงสถานที่หรือวิธีการขาย ดังต่อไปนี้ (1) สถานศึกษา (2) หอพัก (3) สวนสาธารณะ สวนสัตว์ และสวนสนุก (4) การขายโดยใช้เครื่องขาย โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขสามารถร่วมกันประกาศกำหนดสถานที่หรือวิธีการขายที่ต้องห้ามเพิ่มเติมในภายหลังได้ (ม. 25)
  • สื่อโฆษณาใบกระท่อม จะต้องไม่สื่อถึงการบริโภคใบกระท่อมที่ปรุงหรือผสมกับยาเสพติด, วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท, ยารักษาโรค หรือสารเคมีอื่น ๆ (ม. 26) โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเพียงผู้เดียวสามารถประกาศกำหนดวัตถุอื่น ๆ ที่ห้ามบริโภคกับใบกระท่อมเพิ่มเติมในภายหลังได้ (ม. 27)

1.3 อาหารเสริมที่ช่วยในเรื่องสมรรถภาพทางเพศ สามารถโฆษณาได้ แต่ผู้โฆษณาต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดดังต่อไปนี้ 


1.3.1 ในกรณีที่ผู้โฆษณาต้องการโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหารเสริม ผู้โฆษณาจะต้องได้รับใบอนุญาตโฆษณาอาหาร (ฆอ.) จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยไลน์ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาใบอนุญาตดังกล่าวก่อนการลงโฆษณา

1.3.2 ในกรณีที่ผู้โฆษณาต้องการโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหารเสริม ผู้โฆษณาจะต้องไม่โฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณเป็นเท็จหรือเกินความจริง

1.3.3 ห้ามโฆษณาอาหารเสริมที่ช่วยในเรื่องสมรรถภาพทางเพศในลักษณะที่เป็นยาบำรุง หรือโฆษณาใด ๆ ที่อาจจะก่อให้เกิดความสับสนต่อประชาชนว่าอาหารเสริมดังกล่าวเป็นยาบำรุง

2. สถานพยาบาล

  • ต้องมีใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล และปฏิบัติตามระเบียบและหลักเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข โดยการโฆษณาสถานพยาบาลบางประเภทต้องได้รับอนุมัติจากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข หรือสาธารณสุขจังหวัด

3. เว็บหาพันธมิตรจับคู่ทางธุรกิจ 

  • แอพพลิเคช่ันต้องถูกสร้างและให้บริการกับผู้ใช้มาแล้วอย่างน้อย 1 ปี
  •  แอพพลิเคช่ันต้องได้รับการประเมินและมีคะแนนจากผู้ใช้ต้ังแต่ 4 ดาวขึ้นไป
  • ต้องกําหนดให้ผู้ใช้บริการกลุ่มเป้าหมาย มีอายุตั้งแต่ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
  • ต้องมีข้อความแจ้งเตือน (warning message) บน banner/video ข้อความว่า "บริการนี้สําหรับบุคคลอายุ 20 ปีข้ึนไปเท่านั้น"

4. เครื่องสําอาง 

  • เครื่องสำอาง (รวมถึง เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของกัญชา กัญชง หรือกระท่อมด้วย) สามารถโฆษณาได้โดยไม่ต้องขออนุญาต แต่การโฆษณาห้ามอ้างสรรพคุณเกินขอบเขตของเครื่องสำอาง (เช่น รักษาโรค) และต้องปฏิบัติตามระเบียบและหลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข 

5. การเมือง การเลือกตั้ง

  • พรรคการเมือง สมาชิกพรรคการเมือง ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ผลสํารวจการออกเสียงประชามติ หรือ เนื้อหาเกี่ยวกับการเลือกตั้ง สามารถโฆษณาได้ในช่วงระยะเวลาที่บริษัทกำหนด โดยต้องเป็นการซื้อผ่านเอเจนซี่เท่านั้น มีเอกสารเพิ่มเติม (เช่น เอกสารแสดงการรับจดทะเบียนพรรคการเมือง สมาชิกพรรคการเมือง หนังสือรับรองผู้สมัครรับเลือกตั้ง รวมถึงหนังสืออื่นตามที่กำหนด) และพิจารณาเป็นกรณี

6. สลากที่ออกโดยรัฐบาล 

  • โฆษณาต้องไม่มีการกล่าวให้ความคาดหวังในการถูกรางวัลมากเกินไปและต้องคำนึงถึงผลกระทบที่อาจส่งผลต่อเยาวชนด้วย
  • กรณีสลากกินแบ่งรัฐบาล สามารถโฆษณาได้แต่จะต้องมีเอกสารอนุญาตหรือหลักฐานการเป็นตัวแทนจำหน่ายสลากจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
  • ราคาขายของสลากกินแบ่งต้องไม่เกิน 80 บาท และห้ามมิให้มีการโฆษณาการค้าส่งหรือทำการค้าส่งสลากกินแบ่ง โดยในการโฆษณาจะต้องมีข้อกำหนดว่าจะไม่จำหน่ายสลากแก่บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์
  • กรณีสลากอื่น ๆ (ที่มิได้ออกโดยสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล) สามารถโฆษณาได้แต่จะต้องมีใบอนุญาตการจัดให้มีสลากจากกรมการปกครอง
  • กรณีการรับซื้อรางวัล สามารถโฆษณาได้แต่จะต้องมีเอกสารแสดงหมายเลขประจำตัวผู้รับซื้อรางวัลจากจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล

7. สินค้าและบริการที่มีการจัดให้มีการแถมพกหรือรางวัลด้วยการสุ่มหรือเสี่ยงโชคใดๆ

  • ต้องมีเอกสารการอนุญาตจากกรมการปกครอง เช่น การจัดให้มีกล่องสุ่ม
  • โฆษณาจะต้องปฏิบัติตามและแสดงรายละเอียดตามระเบียบและหลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

8. ธุรกิจด้านการเงิน หลักทรัพย์ การชำระเงินและสินทรัพย์ดิจิทัล

ธุรกิจ บริการ และ/หรือผลิตภัณฑ์ตามที่ระบุดังต่อไปนี้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แล้วแต่กรณี และ จะต้องเป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการที่เสนอขาย ค้า จัดจำหน่าย ให้บริการ หรือดำเนินการอื่นใดโดยบุคคล สถาบันการเงิน ผู้ประกอบธุรกิจด้านการเงิน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินต่างประเทศ ธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล และ/หรือธุรกิจบริการการชำระเงิน ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ซึ่งได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจดังกล่าวภายใต้การกำกับดูแลของ ธปท. ก.ล.ต. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ทั้งนี้ เว้นแต่กรณีที่เป็นธุรกิจ บริการ และ/หรือผลิตภัณฑ์ ที่ไม่อยู่ภายใต้การกำกับ เนื่องจากได้รับการยกเว้นการกำกับดูแลตามกฎหมาย ประกาศ หนังสือเวียน ข้อหารือ หรือสื่อประชาสัมพันธ์ที่กำหนดโดยหน่วยงานกำกับดูแลนั้น ๆ อย่างเป็นทางการ

  • ธุรกิจด้านการเงิน (เช่น ธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินเฉพาะกิจ บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ธุรกิจบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้กำกับ สินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกำกับ ธุรกิจระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์สำหรับธุรกรรมสินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคล สินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ ธุรกิจบริหารสินทรัพย์)
  • ธุรกิจหลักทรัพย์ (เช่น ธุรกิจการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ค้าหลักทรัพย์ ที่ปรึกษาการลงทุน จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ การจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล และธุรกิจเกี่ยวกับหลักทรัพย์อื่นที่ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด)
  • ธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (เช่น ธุรกิจตัวแทนซื้อขายสัญญาล่วงหน้า ค้าสัญญาล่วงหน้า ที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และธุรกิจเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอื่นที่ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด)
  • ธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินต่างประเทศ (เช่น ธุรกิจการเป็นนิติบุคคลรับอนุญาต การเป็นบริษัทรับอนุญาต นายหน้าซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การเป็นบุคคลรับอนุญาต ศูนย์บริหารเงิน ตัวแทนโอนเงินระหว่างประเทศ เงินอิเล็กทรอนิกส์รับอนุญาต การเป็นบริษัทหลักทรัพย์รับอนุญาต และธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินต่างประเทศอื่นที่กระทรวงการคลังประกาศกำหนด)
  • ธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (เช่น ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล นายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัล ที่ปรึกษาสินทรัพย์ดิจิทัล ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัล ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล)
  • ธุรกิจบริการการชำระเงิน (เช่น ธุรกิจการให้บริการบัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือบัตรเอทีเอ็ม ธุรกิจการให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ ธุรกิจการให้บริการรับชำระเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์แทนผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการหรือเจ้าหนี้ ธุรกิจการให้บริการโอนเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์)
  • ผลิตภัณฑ์หรือบริการทางการเงิน หลักทรัพย์ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า สัญญาเกี่ยวกับปัจจัยการชำระเงินต่างประเทศ และสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งรวมถึง โทเคนดิจิทัล และ Non-Fungible Token (NFT) ในกรณีที่ NFT นั้นมีลักษณะของการเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลตามกฎหมาย


หมายเหตุ:

ผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินจะต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตที่ได้รับอนุญาต ได้รับการขึ้นทะเบียน หรือได้รับการอนุมัติจาก ธปท. ก.ล.ต. กระทรวงการคลัง และ/หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เท่านั้น และปฏิบัติตามกฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณา (ดูเพิ่มเติม เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นได้ ที่นี่)


ข้อกําหนดเพิ่มเติมสําหรับเงินกู้

  • ต้องปฏิบัติตามที่กฎหมายและหน่วยงานกำกับดูแลกำหนด (ในกรณีที่มีกฎหมายกำกับดูแลเฉพาะ เช่น สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้กำกับ และ Peer-to-Peer Lending เป็นต้น)
  • ต้องเปิดเผยข้อมูลค่าบริการ ค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ รวมถึงเงื่อนไข สิทธิ หน้าที่ต่าง ๆ ต่อลูกค้าอย่างชัดเจน ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย
  • ข้อสัญญาและอัตราดอกเบี้ยต้องไม่เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด
  • ต้องประเมินศักยภาพและความสามารถในการใช้คืนเงินกู้ของลูกค้าตามที่กฎหมายประกาศกำหนดอย่างเคร่งครัด และห้ามมิให้กำหนดกลุ่มเป้าหมายไปยังผู้ที่ไม่มีศักยภาพและความสามารถในการใช้คืนเงินกู้หรือสินเชื่อ
  • ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจและ/หรือการโฆษณา ตามที่กฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกำหนด (ดูเพิ่มเติม เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นได้ ที่นี่)


ข้อกำหนดเพิ่มเติมสำหรับผลิตภัณฑ์ประกันภัย

  • ต้องเป็นผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่เป็นไปตามแบบและข้อความที่นายทะเบียนได้ให้ความเห็นชอบ และมีอัตราเบี้ยประกันภัยเป็นไปตามที่หน่วยงานผู้มีอำนาจกำกับดูแลของไทย (ในขณะนี้ คือ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย) ได้ให้ความเห็นชอบ
  • ผู้เสนอขายจะต้องเป็นบริษัทประกันภัยที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัยตามกฎหมายไทย ตัวแทนหรือนายหน้าประกันภัยที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายไทย
  • ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องที่กฎหมายว่าด้วยการประกันภัยของไทยกำหนดไว้ครบถ้วน ซึ่งรวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียง

o ข้อความโฆษณาต้องไม่มีลักษณะเป็นการจูงใจอันเป็นเท็จหรือเกินความจริง

o ข้อความโฆษณาต้องมีความชัดเจน เข้าใจง่าย และไม่กำกวม

o ข้อความโฆษณาต้องไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับกรมธรรม์ประกันภัยหรือการจ่ายเงินตามสัญญาประกันภัย

o ต้องมีคำเตือนให้ลูกค้าทำความเข้าใจรายละเอียดของกรมธรรม์ประกันภัยก่อนตัดสินใจทำประกันภัย

o การที่ตัวแทนประกันภัยหรือนายหน้าประกันภัยจะต้องได้รับความเห็นชอบจากบริษัทประกันภัยก่อนนำข้อความหรือภาพโฆษณา หรือหนังสือชักชวนไปใช้เพื่อชักชวน ชี้ช่อง หรือจัดการให้บุคคลทำสัญญาประกันภัย

9. Contact lens

  • ต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และการโฆษณาต้องมีใบอนุญาตโฆษณาเครื่องมือแพทย์

10. วัตถุอันตราย 

  • ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  • ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกาย หรือจิตใจ หรือขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน หรืออาจ ก่อให้เกิดความเดือดร้อนหรือเป็นอันตรายแก่ผู้อื่น

11. ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลสุขภาพของบุคคล 

  • ต้องปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กฎหมายสุขภาพแห่งชาติ และประกาศระเบียบ แนวปฏิบัติ ประมวลจริยธรรมหน่วยงานกำกับดูแล และสภาวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง 

12. ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ 

  • ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในการตรวจพิจารณาภาพยนตร์ วีดิทัศน์และสื่อโฆษณา ตามกฎหมายว่าด้วยภาพยนตร์และวีดิทัศน์ และได้รับอนุญาตให้โฆษณาเผยแพร่จาก สำนักพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ กระทรวงวัฒนธรรม

13. เครื่องมือแพทย์

  • การโฆษณาต้องมีใบอนุญาตโฆษณาเครื่องมือแพทย์ และต้องปฏิบัติตามระเบียบและหลักเกณฑ์ของสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข 

14. อากาศยานไร้คนขับหรือโดรน 

  • ต้องได้รับอนุญาตให้นำเข้า จำหน่าย หรือครอบครอง จากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

15. การประมูล ขายทอดตลาดและค้าของเก่า 

  • ต้องได้รับใบอนุญาตการขายทอดตลาด (License for public auction) หรือ ค้าของเก่า (Antiques license) จากกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย 

16. ชุดตรวจโควิด-19 แบบตรวจหาแอนติเจนด้วยตัวเอง (ATK)

  • ต้องมีหลักฐานแสดงว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
  • การโฆษณาต้องมีใบอนุญาตโฆษณาเครื่องมือแพทย์ และต้องปฏิบัติตามระเบียบและหลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข

17. พระเครื่อง วัตถุมงคล วัตถุโบราณ

  • พิจารณาให้เฉพาะที่มีหน้าร้านเป็นหลักแหล่ง หรือประกอบธุรกิจในนามนิติบุคคลที่มีความน่าเชื่อถือ
  • ในกรณีที่มีการกล่าวอ้าง หรือแสดงการรับประกัน หรือการรับรองจากสถาบันต่างๆ หรือการยืนยันข้อเท็จจริง ต้องระบุรายละเอียดให้ชัดเจนและมีเอกสารหลักฐานพิสูจน์ได้
  • ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าที่โดยสภาพอาจเป็นอันตรายหรือเป็นอาวุธได้
  • อาจมีการขอพิจารณาใบทะเบียนพาณิชย์ ใบอนุญาตค้าของเก่า และ/หรือ ใบอนุญาตนำเข้าและใบอนุญาตค้าจากกรมศิลปากร (แล้วแต่กรณี)
  • ไม่อนุญาตให้วัด หรือศาลเจ้า หรือสถานที่ทำพิธีทางศาสนา ลงโฆษณาบน LINE Ads
  • ไม่อนุญาตให้โฆษณาโดยใช้ข้อความเกี่ยวกับความเชื่อและวิจารณญาณส่วนบุคคลที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยหลักเหตุผลหรือกระบวนการพิสูจน์ที่เป็นที่ยอมรับ เพื่ออวดอ้างสรรพคุณ หรือแสดงผลที่ได้รับจากการบูชา การใช้ การครอบครองพระเครื่อง วัตถุมงคล หรือวัตถุโบราณ เช่น เสริมบารมี, เมตามหานิยม, เสริมโชคลาภ, แคล้วคลาดปลอดภัย, บูชาแล้วไม่จน เป็นต้น แต่ไม่รวมถึงการโฆษณาโดยใช้ข้อความที่แสดงการผ่านพิธีปลุกเสก หรือแสดงรายละเอียดวัตถุดิบที่ใช้สร้างพระเครื่อง หรือวัตถุมงคล

18. ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อและวิจารณญาณส่วนบุคคล เช่น เครื่องราง ของขลัง บริการดูดวง โหราศาสตร์ ทำนายโชคชะตา ฮวงจุ้ย รวมถึงวัตถุหรือสิ่งของใดๆ ไม่ว่าจะจับต้องได้หรือไม่

  • ให้อธิบายวิธีการใช้บริการ ค่าใช้จ่าย วิธีการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลที่ชัดเจน
  • ห้ามใช้ข้อความที่อาศัยความเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยหลักเหตุผลหรือกระบวนการพิสูจน์ที่เป็นที่ยอมรับ หรือข้อความอื่นใดที่มีความหมายในลักษณะทำนองเดียวกันเป็นสิ่งเชิญชวนหรือชักจูงใจให้ผู้บริโภคที่กำลังมีความทุกข์หรือต้องการที่พึ่งทางใจซื้อสินค้าหรือบริการ เช่น เมื่อใช้แล้วรวยทันที, เห็นผลภายใน 7 วัน, รับทำพิธีเรียกคนรักกลับคืนมา, รับแก้เคราะห์, แก้กรรม, เสริมบารมี, เสริมดวง, เพิ่มยอดขาย, เพิ่มเสน่ห์, ใครเห็นใครรัก, นั่งสมาธิดูอดีตชาติ, ไสยศาสตร์ มนต์ดำ, สามารถป้องกันหรือบรรเทาอันตราย, ทำให้มีโชคลาภหรือความโชคดี หรือข้อความอย่างอื่นที่มีลักษณะในทำนองเดียวกัน
  • ไม่อนุญาตให้มีการเรี่ยไร หรือขอรับบริจาคเงินเพื่อวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อ และวิจารณญาณส่วนบุคคล
  • ไม่อนุญาตให้ใช้ข้อความโฆษณาที่สุ่มเสี่ยงเป็นเนื้อหาที่ขัดศีลธรรมของสังคม ห้ามการันตีความแม่นยำ ห้ามใช้ข้อความเกินจริง ห้ามทำให้ผู้ใช้สับสนหลงผิดในหลักฐานที่วิทยาศาสตร์พิสูจน์ไม่ได้ หรือที่เกี่ยวกับการพนัน หรือเพื่อวัตถุประสงค์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือก่อให้เกิดความกังวลหรือหวาดกลัว

19. การจำหน่ายสินค้า หรือการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับสัตว์เลี้ยง ตามรายการที่ปรากฏด้านล่างนี้ บริษัทอาจขอพิจารณาและตรวจสอบใบอนุญาตหรือเอกสารอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการนั้น ๆ แล้วแต่กรณี ดังนี้ 

  • การจำหน่ายสินค้าสำหรับสัตว์เลี้ยง เช่น เสื้อผ้า ของเล่น ปลอกคอ สายจูง กรงหรือที่อยู่อาศัยของสัตว์เลี้ยง เป็นต้น 
  • บริการรับดูแลและรับฝากสัตว์เลี้ยง
  • บริการรับทำความสะอาด และตัดแต่งขนสัตว์เลี้ยง 
  • การให้บริการคาเฟ่สัตว์เลี้ยง
  • บริการรับฝึกสอนสัตว์เลี้ยง โดยในกรณีที่ผู้โฆษณาอ้างอิงเอกสารหรือใบรับรองที่ผ่านการฝึกอบรมจากสถาบันการฝึกสอนสัตว์เลี้ยงต่าง ๆ จะต้องแสดงรายละเอียดเอกสารหรือการได้รับใบรับรองนั้นให้ครบถ้วน 
  • การจำหน่ายอาหารสำหรับสัตว์เลี้ยง (ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการอ้างคุณประโยชน์ คุณภาพ ปริมาณ มาตรฐาน ส่วนประกอบ หรือแหล่งกำเนิดอาหารสัตว์ ต้องแสดงใบขึ้นทะเบียนอาหารสัตว์ควบคุมเฉพาะและใบอนุญาตขายอาหารสัตว์ควบคุมเฉพาะ)
  • บริการรับเลี้ยง หรือให้ที่พักพิงต่อสัตว์สำหรับมูลนิธิ สมาคม หรือองค์กรที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสาธารณประโยชน์ และมิได้แสวงหาผลกำไร (ทั้งนี้ ต้องแสดงหนังสือจดทะเบียนและข้อบังคับของมูลนิธิหรือสมาคม หรือเอกสารจากองค์กรดังกล่าวเพื่อพิจารณาว่ามีวัตถุประสงค์ในการรับเลี้ยงหรือให้ที่พักพิงสัตว์)

20. บริการนักสืบเอกชน 

อนุญาตให้เฉพาะบริการที่มีสถานที่ตั้งชัดเจน และผู้ให้บริการจะต้องมีใบอนุญาตให้เป็นทนายความ รวมถึงการให้บริการจะต้องกระทำในฐานะทนายความของผู้ว่าจ้างเท่านั้น เช่น การสืบทรัพย์ของลูกหนี้, การค้นหรือขอคัดสำเนาเอกสารต่อหน่วยงานราชการ, การสอบถามข้อเท็จจริง หรือสอบถามข้อมูลใดๆ จากบุคคลอื่นโดยได้รับความยินยอม โดยการให้บริการจะต้องไม่ฝ่าฝืนกฎหมาย และไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น ทั้งนี้ บริษัทขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาใบอนุญาตให้เป็นทนายความก่อนการลงโฆษณา

21. โรงรับจำนำ 

อนุญาตให้เฉพาะโรงรับจำนำที่มีสถานที่ตั้งชัดเจน และเป็นโรงรับจำนำที่ได้รับใบอนุญาตตั้งโรงรับจำนำ ประกอบกับต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ต่างๆ ตามที่พระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ.2505 กำหนดอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ บริษัทขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาใบอนุญาตตั้งโรงรับจำนำก่อนการลงโฆษณา



เงื่อนไขและข้อกำหนดการลงโฆษณาหน้ากากอนามัยและเจลล้างมือ

  1. ในการโฆษณาขายผลิตภัณฑ์หน้ากากอนามัยต่างๆ จะต้องมีการระบุราคาการขายที่ชัดเจนในการลงโฆษณา มีราคาที่เหมาะสม ไม่จำหน่ายเกินราคา นอกจากนั้นต้องไม่กล่าวอ้างในเรื่องของสรรพคุณเกินจริง
  2. ในกรณีที่ผลิตภัณฑ์หน้ากาก เป็นประเภท Surgical mask  ที่ผลิตในประเทศ ต้องมีราคาจำหน่ายต่อชิ้น ไม่เกิน 2.5 บาท (รวม VAT แล้ว) เท่านั้น และต้องระบุราคาในโฆษณาให้ชัดเจน (หากสินค้า Surgical mask หรือหน้ากากแบบอื่น ที่จำหน่ายเป็นการนำเข้ามาจากต่างประเทศ ราคาขายต้องไม่เกินที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด)
  3. สินค้าประเภท ไส้กรอง หรือ filter  สำหรับใส่ด้านในร่วมกับหน้ากากอนามัยต่างๆ ต้องมีข้อความระบุชัดเจนว่าเป็น “ไส้กรอง” ไม่สร้างความสับสนให้ผู้ซื้อเข้าใจผิดว่าเป็นหน้ากากอนามัยและต้องไม่นำเสนอสรรพคุณเกินจริง หรือจำหน่ายในราคาเกินจริง
  4. ผลิตภัณฑ์ ประเภท เจลล้างมือ (จัดเป็นผลิตภัณฑ์ “เครื่องสำอาง” ไม่ใช่ “เครื่องมือแพทย์”)


เงื่อนไขและข้อกำหนดการลงโฆษณา ชุดตรวจโควิด-19 แบบตรวจหาแอนติเจนด้วยตัวเอง (ATK)

  1. การจำหน่าย หรือ การเสนอขาย (อาทิ การแสดงรูปภาพสินค้า ราคา และข้อมูลเบื้องต้น) ผู้ขายจะต้องมีหลักฐานที่แสดงว่า ชุดตรวจโควิด-19 แบบตรวจหาแอนติเจนด้วยตัวเอง (ATK) ดังกล่าวเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการขึ้นทะเบียนและได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โดยจะต้องแนบใบรับรองการประเมินเทคโนโลยี หรือ แบบ บ.ป.ท. ให้ทีมงานตรวจสอบด้วย
  2. การโฆษณา ชุดตรวจโควิด-19 แบบตรวจหาแอนติเจนด้วยตัวเอง (ATK) สามารถโฆษณาต่อประชาชนทั่วไปได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ลงโฆษณาจะต้องมีหลักฐานว่าได้รับอนุญาตให้โฆษณาเครื่องมือแพทย์จาก อย. ให้ทีมงานตรวจสอบด้วย
  3. ไม่อนุญาตให้โฆษณาในลักษณะโอ้อวดหรือก่อให้เกิดความเข้าใจผิดจากความเป็นจริง เช่น การอวดอ้างสรรพคุณของชุดตรวจว่าสามารถตรวจพบ หรือ ระบุสายพันธุ์ใด ๆ ของเชื้อก่อโรค COVID-19 ได้ (เช่น โฆษณาโดยกล่าวอ้างว่าสามารถตรวจจับสายพันธุ์เดลต้าหรือโอมิครอนได้)
  4. โฆษณาที่สามารถเผยแพร่บน LINE Ads จะต้องเป็นโฆษณาที่ อย. อนุมัติให้โฆษณาผ่านทาง “สื่อสังคมออนไลน์” สามารถตรวจสอบประเภทของสื่อโฆษณาที่ได้รับอนุมัติให้โฆษณาได้จากใบอนุญาตโฆษณาเครื่องมือแพทย์
  5. การเผยแพร่วิดีโอ หรือ คู่มือวิธีการใช้งานชุดตรวจ โดยทั่วไปแล้ววิดีโอ หรือ คู่มือที่แสดงวิธีการใช้งานชุดตรวจนั้นสามารถเผยแพร่ได้ อย่างไรก็ตามหากสื่อดังกล่าวมีเนื้อหาที่ยกย่องสรรพคุณของสินค้า หรือเนื้อหาอื่น ๆ ที่เป็นการเชิญชวนให้ซื้อสินค้า จะจัดว่าเป็นการโฆษณาเครื่องมือแพทย์ ซึ่งต้องได้รับใบอนุญาตโฆษณาเครื่องมือแพทย์ก่อนเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าว
  6. ข้อความ*ที่โฆษณาต้องตรงตามที่ได้รับอนุญาตจาก อย. ห้ามเปลี่ยนแปลงแก้ไขปรับปรุงข้อความโดยที่ไม่ได้รับอนุญาตจาก อย. โดยเด็ดขาด
  7. เลขที่ใบอนุญาตโฆษณา (“ฆพ XXXX/YYYY”) ต้องปรากฏในข้อความ*ที่โฆษณา

หมายเหตุ*: “ข้อความ” ตามความหมายของพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ ฯ หมายรวมถึง การกระทำให้ปรากฏด้วยอักษร รูป รอยประดิษฐ์ ภาพ ภาพยนตร์ แสง เสียง เครื่องหมายหรือการกระทำอย่างใดที่ทำให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้าใจความหมายได้

ตัวอย่างใบรับรองการประเมินเทคโนโลยี

“แบบ บ.ป.ท.”

ตัวอย่างใบอนุญาตโฆษณาเครื่องมือแพทย์

“แบบ ฆพ. 2”

สินค้าและบริการที่ต้องส่งเอกสารเพิ่มเติม


ทั้งนี้ในกรณีที่สินค้าและบริการอยู่ในประเภทสินค้าที่มีการควบคุม สามารถยื่นเอกสารเพิ่มเติมประกอบการพิจารณาอนุมัติโฆษณาตามขั้นตอน ดังนี้ 

  1. สร้างบัญชีโฆษณาผ่าน admanager.line.biz
  2. อัพโหลดไฟล์เอกสารเพิ่มเติมภายใต้หัวข้อ ‘ข้อมูลสินค้า’


ตัวอย่างเอกสารอย.

อาหาร เครื่องดื่ม และอาหารเสริมทุกชนิดต้องปฏิบัติตามระเบียบและหลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข




ตัวอย่างใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล

สถานพยาบาลต้องมีใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล และปฏิบัติตามระเบียบ กระทรวงสาธารณสุข




ข้อกําหนดและแนวทางการเขียนข้อความโฆษณา

  • การระบุชื่อแบรนด์สินค้าในโฆษณา

ต้องมีการระบุชื่อบริษัทหรือแบรนด์ของสินค้าในสื่อโฆษณาเสมอ โดยชื่อหรือโลโก้นั้นต้องใหญ่พอที่จะมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ และต้องระบุชื่อเจ้าของลิขสิทธ์ิ สินค้าทุกครั้ง ในกรณีที่ผู้ลงโฆษณาไม่ใช่เจ้าของลิขสิทธิ์

  • ห้ามใช้ข้อความหรือเนื้อหาที่อาจทำให้เกิดความสับสน หรือตีความผิดว่าบริษัทเป็นผู้ให้บริการ

ห้ามใช้โลโก้ LINE หรือ LINE Character กับบริการหรือเนื้อหาที่เป็นของบริษัทไปในทางที่ทําให้เกิดความสับสนหรือทําให้ผู้ใช้บริการเข้าใจว่าโฆษณานั้นเป็นของบริษัท

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง LINE Character ซี่งเป็นลิขสิทธิ์ของบริษัทเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นําไปใช้ในโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาต

ในกรณีที่ใช้ the LINE logo, LINE icon, or LINE Official Account logo กรุณาปฏิบัติตามข้อกำหนดและเงื่อนไขในการใช้งานตามลิงค์ URL ด้านล่างนี้

https://line.me/en/logo

https://media.line.me/en/how_to_install

  • การใช้คำว่า "เพื่อน" "friend" (ในกรณีที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษ)

เพื่อน ในที่นี้หมายถึง สถานะของผู้ใช้บริการ ซึ่งเป็นเพื่อนของ บัญชีทางการของ LINE เช่น LINE Official Account

ห้ามใช้คำที่ไม่ถูกต้องเช่น "Frenz" กรุณาใช้คำให้ถูกต้อง "friends" (ในกรณีที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษ)

  • ห้ามลงโฆษณาที่มีสปอนเซอร์หลายราย

ห้ามทําการขายพื้นที่โฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาตจากบริษัท และห้ามลงโฆษณาที่มีเนื้อหาที่อาจเกี่ยวข้องถึงผู้ลงโฆษณารายอื่นหรือทำให้ผู้ใช้บริการมีความสนใจในสินค้าหรือบริการของผู้ลงโฆษณารายอื่น

  • ข้อจำกัดเกี่ยวกับลิงก์​ URL

ห้ามใช้ลิงค์ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับโฆษณา

  • รูปแบบโฆษณาที่แนะนำ

รูปแบบของโฆษณาต้องดูเป็นธรรมชาติ ชัดเจน สวยงาม และดึงดูดผู้ใช้บริการ โฆษณาไม่ควรมีตัวอักษรมากเกินไป และแนะนำให้ใส่ข้อความบนรูปภาพให้น้อยที่สุด การใส่ตัวอักษรมากเกินไป อาจทำให้โฆษณาของคุณแสดงให้ผู้ใช้บริการเห็นได้น้อยลงหรืออาจไม่แสดงผลเลย

  • ความสอดคล้องของโฆษณา

ส่วนประกอบโฆษณาท้ังหมด รวมถึงข้อความ ภาพ หรือส่ืออ่ืนๆ ต้องมีความสอดคล้อง.  และเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์หรือบริการท่ีทําการนําเสนอ รวมถึง กลุ่มเป้าหมายที่ดูโฆษณา โฆษณาต้องแสดงถึงบริษัท ผลิตภัณฑ์ บริการ หรือแบรนด์ที่กําลังโฆษณาอยู่อย่างชัดเจน ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่โปรโมทใน ข้อความของโฆษณาต้องตรงกับรายการที่โปรโมทในเพจเร่ิมต้น และไซต์ปลายทางจะต้องไม่นําเสนอหรือลิงก์ไปท่ีผลิตภัณฑ์หรือบริการท่ีไม่ได้รับอนุญาต 

  • ห้ามใช้ลิงก์ที่พาผู้ใช้งานไปหน้าเพจปลายทางที่ใช้งานไม่ได้จากสมาร์ทโฟน

ห้ามใช้ลิงค์ที่เพจปลายทางไม่สามารถเข้าถึงเนื้อหาได้จากสมาร์ทโฟน (กรุณาตรวจสอบให้แน่ใจว่าลิงค์ของท่านใช้ได้กับสมาร์ทโฟน) ห้ามใช้เว็บเพจท่ีมีตัวอักษร ข้อความ หรือรูปภาพที่ไม่เหมาะสมกับสัดส่วนของหน้าจอของสมาร์ทโฟน

  • ห้ามใช้ภาษาเนื้อหาที่ทำให้เกิดความไม่สบายใจหรือมีความรุนแรง

ห้ามใช้ช้ินงานโฆษณาท่ีมีเนื้อหาท่ีอาจจะทําให้ผู้ชมรู้สึกไม่ดี หรือข้อความท่ีอาจจะก่อให้ผู้ชมรู้สึกไม่สบายใจ ห้ามใช้ภาพที่มีการโชว์เรือนร่าง หรือดูเป็นการช้ีนําทางเพศมากเกินไป ห้ามใช้ภาพชุดว่ายน้ําหรือชุดชั้นในท่ีไม่เก่ียวกับโฆษณา ห้ามใช้ภาษา เน้ือหาท่ีสนับสนุนการใช้ความรุนแรง แบ่งแยกบุคคล จากเช้ือชาติ สีผิว ศาสนา อายุ เพศ หรือเน้ือหาต่อต้านสังคม

  • ห้ามใช้เนื้อหาที่ไม่เหมาะสมหรืออาจก่อให้เกิดการเข้าใจผิด

ห้ามลงโฆษณาที่อาจทำให้เกิดการเข้าใจผิดในคุณสมบัติ คุณภาพ สรรพคุณของสินค้าหรือบริการที่เกินจากความเป็นจริง หรือโฆษณาที่มีเนื้อหาสื่อให้เข้าใจว่าจะได้รับเงินรางวัลหรือของตอบแทนจากการใช้สินค้าหรือบริการนั้นทั้งที่ผู้ใช้บริการไม่มีโอกาสได้รับเงินรางวัลหรือของตอบแทนเช่นนั้นจริง 

  • เนื้อหาในโฆษณาต้องปฏิบัติตามและแสดงรายละเอียดตามที่กฎหมายกำหนด

ในกรณีที่สินค้าและบริการใด มีกฎหมายกำหนดเป็นการเฉพาะให้การโฆษณาจะต้องเป็นไปหรือต้องแสดงรายละเอียดให้ครบถ้วนตามระเบียบหรือหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด เนื้อหาโฆษณาของสินค้าและบริการดังกล่าวจะต้องเป็นไปและแสดงรายละเอียดให้ครบถ้วนตามระเบียบหรือหลักเกณฑ์ดังกล่าวด้วย

  • ห้ามใช้ภาษาที่มีการใช้คำที่เป็นที่สุด เช่น “ดีที่สุด” “อันดับ1” ” No. 1 ”

ห้ามใช้ภาษาที่มีการส่ือความหมายท่ีเป็นที่สุด เช่น “ดีที่สุด” “อันดับ1” ” No. 1” “the best” “World’s first” ในกรณีที่เนื้อหาโฆษณามีถ้อยคำดังกล่าวหรือถ้อยคำอื่นที่สื่อความในลักษณะเดียวกัน จะต้องมีการระบุที่มาของแหล่งข้อมูล แหล่งที่มาของการสํารวจ และปีที่ทําการสํารวจอย่างชัดเจนใน linked pages และชิ้นงานโฆษณา

  • ภาษาหรือข้อความที่สร้างเพื่อมุ่งหวังข้อมูลส่วนตัว จากการลงทะเบียนหรือวิธีการที่คล้ายคลึง

ในกรณีที่งานโฆษณาพาผู้ใช้บริการไปยังเว็บเพจอื่น และสนับสนุนให้ลงทะเบียนเพื่อรับบริการหรือผลิตภัณฑ์ จะต้องระบุให้ชัดเจนว่าลิงค์น้ันไม่มีความเกี่ยวข้องกับบริษัทใด ๆ ท้ังสิ้น นอกจากนี้ต้องปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเก็บ ใช้ รวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ ต้องไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด หรือใช้เทคนิคใด ๆ เพื่อการเก็บ ใช้ รวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลโดยที่ผู้ใช้บริการหรือเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไม่มีโอกาสทราบข้อเท็จจริงนั้น

  • ห้ามกล่าวอ้างถึงผลของการดูแลรักษา หรือการรักษาด้วยยา

ห้ามโอ้อวดสรรพคุณ หรือใช้คําที่เกี่ยวข้องกับผลของการดูแลรักษา หรือการรักษาด้วยยา (ยกเว้นการโฆษณาที่ได้รับการอนุญาตจาก อย. แล้ว) ห้ามใช้รูปและวิดีโอที่มีการแสดงภาพ ”ก่อนและหลัง” (before/after)

  • ห้ามใช้ภาษาหรือเนื้อหาที่มีการเปรียบเทียบ

ห้ามลงช้ินงานโฆษณาท่ีมีเนื้อหาเปรียบเทียบระหว่างผลิตภัณฑ์หรือบริการของท่านกับผลิตภัณฑ์หรือบริการของผู้อื่น หรือกล่าวถึงชื่อแบรนด์สินค้าหรือบริการของบุคคลอื่นในโฆษณา 

เนื้อหาที่มีความผิดบ่อย

โฆษณาจะถูกปฏิเสธทันทีถ้าหากเป็น “ธุรกิจ” ต่อไปนี้

  1. ผลิตภัณฑ์บุหรี่ บุหร่ีไฟฟ้า ยาสูบหรือผลิตภัณฑ์ที่เก่ียวข้อง รวมถึงผลิตภัณฑ์ช่วยเลิกบุหรี่ที่มีสารนิโคตินเป็นส่วนประกอบ
  2. ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่เก่ียวข้องกับการพนัน เช่น ปาจิงโกะ เว็บไซต์พนัน บอล หวย เกมส์ท่ีต้องห้ามตามกฎหมาย
  3. การช่วยเหลือในการต้ังครรภ์ การตั้งครรภ์แทน (อุ้มบุญ) เนื้อหาท่ีเก่ียวข้องกับบุตรบุญธรรม การรับหรือยกเด็กให้คนอื่น นอกจากญาติของเด็ก
  4. บริการซ้ือขายสัตว์เล้ียงและสิ่งมีชีวิต
  5. โรงรับจํานํา/ เพชรหลุดจํานําแม้ว่าจะมีใบรับรองหรือใบรับประกันคุณภาพ 
  6. การให้กู้ยืมเงินในเชิงฉ้อโกง และ การระดมทุนที่มีวัตถุประสงค์อันไม่ชอบด้วยกฎหมาย
  7. ธุรกิจแบบพีระมิด การขายตรงแบบแอบแฝงแชร์ลูกโซ่ หรือธุรกิจอื่นใดที่มีลักษณะเดียวกัน ที่ไม่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เช่น มีลักษณะที่มุ่งเน้นให้สมาชิกต้องซื้อสินค้าเพื่อร่วมเข้าร่วมธุรกิจ ไม่มุ้งเน้นการขายสินค้าต่อผู้บริโภคแต่มุ่งเน้นให้สมาชิกชักชวนบุคคลอื่นเข้าร่วมเครือข่าย รายได้มาจากการแนะนำที่คำนวณจากจำนวนสมาชิกที่มาเข้าร่วมเครือข่ายมากขึ้น สินค้ามีราคาสูงแต่คุณภาพไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีนโยบายรับคืนสินค้าเนื่องจากระบบการจ่ายเงินเป็นการนำเงินจากผู้สมัครสมาชิกรายใหม่มาจ่ายให้กับสมาชิกรายเก่าๆ ต่อๆ กันไป เป็นระบบพีระมิด เป็นต้น

โฆษณาจะถูกปฏิเสธทันทีถ้าหากมี “เนื้อหา” ต่อไปนี้

  1. ห้ามใช้รูปและวิดีโอท่ีมีการแสดงภาพ ”ก่อนและหลัง” (before/after)
  2. ภาพท่ีมีเนื้อหาไม่เหมาะสม เช่น ภาพซูม [สิว ฝ้า กระ หัวล้าน สะเก็ดเงิน ผมร่วงเป็นจำนวนมาก]
  3. เครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ (ที่ไม่มีหลักฐานหรือเอกสารรับรองการผลิตหรือนำเข้าผลิตภัณฑ์จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา)
  4. ยาจําหน่ายตามใบส่ังยาที่เกี่ยวข้องกับโรคเฉพาะด้าน เช่น ยาปฏิชีวนะ, ยาฆ่าเชื้อ, ยาเก่ียวกับรักษาต้อตา, ยาหยอดตา
  5. รูปที่มีรายละเอียดของภาพตํ่า เช่น ภาพถูกตัดไม่เป็นธรรมชาติ สะกดคําผิด ใช้ภาษาอ่ืนนอกจากภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  6. ภาพที่แสดงตัวเลขหรือมีการวัดค่าต่าง ๆ เช่น ที่ชั่งน้ําหนัก สายวัด เครื่องวัดนํ้าตาล
  7. ห้ามใช้รูปภาพคุณหมอหรือผู้เชียวชาญโดยไม่ได้รับอนุญาตจากบุคคลในภาพ
  8. สินค้าและบริการท่ีไม่น่าเช่ือถือ หรือไม่ได้รับอนุญาตให้จำหน่าย ครอบครองหรือทำการโฆษณาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
  9. ทองไมครอน ทองชุบ ทองปลอม เงินปลอม เพชรปลอม พลอยปลอม 

เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ที่แนะนำ LINE Ads

  • แนะนำให้ใช้เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ที่เขียนไว้ด้านบน ในกรณีที่ใช้เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์อื่นนอกเหนือจากด้านบนบริษัท จะไม่รับประกันว่าข้อความจะปรากฎอย่างถูกต้อง
  • ใช้เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ให้ถูกหลักไวยากรณ์
  • สัญลักษณ์สกุลเงินใช้สำหรับสกุลเงินท้องถิ่นของประเทศที่โฆษณาแสดงเท่านั้น
  • อัญประกาศใช้ได้ครั้งละหนึ่งที ด้านหน้าและหลังประโยค
  • ไม่อนุญาตให้เว้นช่อง เมื่อเริ่มต้นประโยคและท้ายประโยค