ธ.ก.ส. ขยับใช้ Data สร้างกลยุทธ์ขยายลูกค้าฐานใหม่ ด้วยโซลูชั่นจาก LINE Ecosystem

BAAC

ธ.ก.ส. ขยับใช้ Data สร้างกลยุทธ์ขยายลูกค้าฐานใหม่

ด้วยโซลูชั่นจาก LINE Ecosystem


เมื่อต้องการขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มที่อยู่นอก Segment เดิมที่คุ้นเคยอย่างกลุ่มเกษตรกร ธ.ก.ส. จึงวางกลยุทธ์ที่ต้องอาศัยทั้งเนื้อหาการสื่อสารที่แยบยล ตรงใจ และต้องมาพร้อมกับเครื่องมือที่ช่วยส่งต่อสารนั้น ๆ ไปถึงกลุ่มเป้าหมายให้ได้ด้วย




ธ.ก.ส. นำข้อมูลจาก LINE Ecosystem เช่น LINE Official Account, MyCustomer มาใช้เพื่อช่วยสนับสนุนให้นโยบายการเพิ่มฐานลูกค้าที่ไม่ได้มุ่งเน้นแค่กลุ่มเกษตรกรอีกต่อไป แต่เริ่มหันมามองหา กลุ่มใหม่ ๆ ด้วยการรุกคืบสื่อสารสร้างการรับรู้ให้กับคนทุกเพศ ทุกวัย เพื่อส่งต่อความรู้ของ ธ.ก.ส. ที่จะช่วยสร้างให้เกิดทั้งความสามารถทางการหารายได้ รวมถึงสร้างความมั่นคงทางการเงินให้กับคนไทยได้สำเร็จ


ธ.ก.ส. ประสบความสำเร็จได้ด้วยการนำ Data ที่มีอยู่แล้วบน LINE Ecosystem นำมาบริหารจัดการ และดำเนินการให้ถูกต้อง ซึ่งช่วยให้บรรลุผลลัพธ์ตามที่ตั้งเป้าเอาไว้ในหลาย ๆ เรื่อง



ชื่อนี้ ธ.ก.ส. หรือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เป็นชื่อที่คุ้นเคยกันดีในฐานะองค์กรที่ให้ความรู้ในด้านการเกษตรที่มาคู่กับการสร้างความพร้อมด้านการเงินสำหรับเกษตกร ซึ่งส่วนใหญ่อาจเข้าใจว่า ธ.ก.ส. ต้องการสื่อสารเรื่องเหล่านี้กับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเกษตรกรหรือผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับการทำการเกษตรเท่านั้น แต่แท้จริงแล้ว ธ.ก.ส. มีความมุ่งหวังให้กลุ่มคนทุกเพศทุกวัยในประเทศไทยได้รับความรู้ในการสร้างความมั่งคั่งทางการเงินมากขึ้น ไม่ต่างอะไรกับที่กลุ่มเกษตรกรได้รับด้วย


ความท้าทาย ของ ธ.ก.ส


หลังจากวิกฤตโควิด-19 โลกของเราได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง พฤติกรรมของผู้คนก็เปลี่ยนแปลงเช่นกัน ผู้คนใช้เวลากับโลกออนไลน์มากขึ้น ดังนั้นแล้วหาก ธ.ก.ส. ต้องการที่จะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายใหม่ที่มีฐานกว้างขึ้นในระดับทั่วทั้งประเทศ และเพื่อทำให้กลุ่มเป้าหมายเหล่านั้นรับรู้ว่า ธ.ก.ส. เป็นองค์กรชั้นนำที่ให้บริการด้านการเงินและการเกษตรแก่คนไทยทั้งประเทศไม่ใช่แค่เกษตรกรได้นั้น ธ.ก.ส. ต้องปรับกลยุทธ์การสื่อสารใหม่ ทั้งด้านการสื่อสารการตลาดและด้านการใช้เครื่องมือ เพื่อเข้าถึงลูกค้าในยุคดิจิทัลมากขึ้นให้ได้


โซลูชั่น


ดังนั้นการมองหาแพลตฟอร์มที่ช่วยทำให้สื่อสารตรงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการในวงกว้าง ธ.ก.ส. จึงต้องเลือกใช้แพลตฟอร์มที่สามารถตอบโจทย์ความท้าท้ายนี้ให้ได้ โดยมุ่งเน้นเลือกใช้ LINE มาเป็นเครื่องมือช่วยให้แคมเปญนี้ประสบความสำเร็จ เพราะ LINE เป็นโซเซียลมีเดียที่มีคนไทยใช้งานกว่า 54 ล้านคน นอกจากจะครอบคลุมทุกเพศทุกวัยอย่างที่ ธ.ก.ส. ต้องการแล้ว LINE ถือว่าเป็นแอปพลิเคชัน แชทที่คนไทยส่วนใหญ่ Active ใช้อยู่1ตลอด โดยเห็นได้จากทุกคนจะใช้ไลน์ในแทบทุกเรื่องที่ต้องมีการสื่อสารระหว่างกัน เช่น ระหว่าง ครอบครัว ผู้ร่วมงาน เพื่อน ฯลฯ



ทำให้ ​ธ.ก.ส. มีโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ นอกเหนือจากกลุ่มเกษตรกรที่คุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว เพราะความครบครันของเครื่องมือที่อยู่ใน LINE for Business ที่ ธ.ก.ส. เลือกใช้ ทำให้สามารถ เข้าถึง รวบรวม เชื่อมต่อ และแชร์กลุ่มเป้าหมาย เพื่อสร้างประสิทธิผลในการสื่อสารการตลาดได้ดียิ่งขึ้น ด้วย 3 กลยุทธ์หลักดังนี้


กลยุทธ์ที่ 1 : สร้างการรับรู้ ถึงความเป็น ธ.ก.ส. ผ่าน LINE Sponsored Stickers Campaign


ธ.ก.ส. ใช้กลยุทธ์กระตุ้นให้ผู้คนแชร์และส่งต่อความรู้สึกดี ๆ ผ่านการใช้สติกเกอร์ไลน์ “น้องหอมมะลิและน้องหอมจัง” ซึ่งนอกจากสร้างการจดจำภาพลักษณ์ของแบรนด์ที่สื่อผ่านลายเส้นของตัวสติ๊กเกอร์แล้ว ธ.ก.ส. ยังได้จำนวนผู้ติดตาม LINE Official Account ที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด



กลยุทธ์ที่ 2 : เพิ่มผู้ติดตามใหม่ให้ตรงเป้าหมายที่สุด ด้วยการใช้ข้อมูลที่เจาะจงจาก LINE Ecosystem มาสร้างแคมเปญโฆษณา


เพื่อให้ผู้ติดตามเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การใช้ LINE Ads ในการโฆษณาเพิ่มเพื่อน (Gain Friends) จึงเป็นเครื่องมือที่ ธ.ก.ส. เลือกใช้ โดยนำข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายที่มีอยู่จากการจัดระเบียบข้อมูลที่ได้ทำเอาไว้ เช่น Click Retargeting กลุ่มเป้าหมายที่คลิกเปิดข้อความบรอดแคสต์ต่าง ๆ รวมถึงข้อมูลที่ได้จากการทำ Survey ผ่าน MyCustomer ทั้ง ข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ธนาคาร และ พฤติกรรมทางการเงิน


โดยนำข้อมูลที่มีทั้งหมดมาจัดกลุ่มแล้วสร้างเป็น กลุ่มเป้าหมายที่กำหนดเอง (Custom Auduience) เพื่อจัดว่าแต่ละกลุ่มมีความสนใจเกี่ยวกับเรื่องใดเป็นพิเศษ และต่อยอดด้วยการนำไปสร้างเป็น กลุ่มเป้าหมายที่คล้ายกัน (Lookalike Audience) ขยายกลุ่มเป้าหมายที่มุ่งหวังให้ใหญ่มากขึ้น สร้างโอกาสได้ผู้ติดตามใหม่ ๆ เพิ่มเป็นเพื่อน LINE Official Account ของ ธ.ก.ส. ได้



ประโยชน์จากการแยกกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนนี้ยังทำให้การเลือกใช้เนื้อหาคอนเทนต์ที่นำไปโฆษณามีความเหมาะสมมากขึ้นด้วย เพราะต้องไม่ลืมว่าต่อให้มีเทคนิคการเช็ตโฆษณาที่ดีเยี่ยมแค่ไหนก็ตาม แต่ถ้าคอนเทนต์ไม่ได้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย การสื่อสารที่โฆษณาออกไป ต่อให้ไปถึง แต่ก็ไม่เกิดแอ็คชั่นใด ๆ กลับกลุ่มเป้าหมายนั้น ๆ


กลยุทธ์ที่ 3 : สร้างผลลัพธ์การบรอดแคสต์ให้มีประสิทธิภาพด้วย การแยกกลุ่มเป้าหมายที่เพิ่มเพื่อนเข้ามา


เมื่อได้เพื่อนเพิ่มเข้ามาติดตาม LINE Official Account แล้ว ธ.ก.ส. ยังมองเห็นความสำคัญของการคัดกรองกลุ่มเป้าหมายเหล่านั้นด้วยอีกชั้นหนึ่ง โดยใช้ฟีเจอร์ Chat Tag เพื่อให้แต่ละกลุ่มได้รับข้อมูลคอนเทนต์ที่บรอดแคสต์ตรงกับพฤติกรรมความต้องการที่แท้จริง เช่น ความรู้การเกษตร ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน เป็นต้น


ผลลัพธ์


จากกลยุทธ์ทั้ง 3 ทำให้ ธ.ก.ส. ได้เพื่อนผู้ติดตามเพิ่มขึ้นเป็นกลุ่มเป้าหมายใหม่ตามที่คาดหวังเอาไว้ โดยได้มาจาก LINE Sponsored Stickers เพิ่มขึ้นถึง 84% เมื่อเทียบกับเดือนที่ไม่ได้แจกสติกเกอร์ ส่วนกลยุทธ์โฆษณาจากการสร้าง Lookalike ที่มีฐานตั้งต้นจากข้อมูลการแบ่งกลุ่มผู้ติดตามใน LINE Official Account และ MyCustomer ทำให้ได้อัตราการคลิกผ่าน (CTR) เพิ่มขึ้นจาก 0.18% (โฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมายหลัก) เป็น 0.21% (โฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมายที่คล้ายกัน) หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 16.66%



และ ธ.ก.ส. ยังสามารถทำให้อัตราการเปิดอ่านคอนเทนต์ที่บรอดแคสต์หลังจากมีการติด Chat Tag จัดกลุ่มผู้ติดตามหลังเพิ่มเพื่อนเข้ามาได้ เพิ่มขึ้นเป็น 14.36% จากเดิมที่มีอัตราเปิดอ่านอยู่เพียง 10.64% เท่านั้น


LINE Solutions ที่ใช้ในแคมเปญนี้


ใช้ Sponsored Stickers จาก LINE

สร้างการมีส่วนร่วมให้เกิดการเพิ่มเพื่อน

อ่านเพิ่มเติม


ใช้ Data จาก MyCustomer

เพื่อมาสร้าง Custom Audience

และ Lookalike Audience

ขยายกลุ่มเป้าหมายที่ใช่

เพื่อโฆษณาบน LINE Ads

อ่านเพิ่มเติม


บริหารจัดการ บัญชีทางการ

บัญชีโฆษณา แอดมิน และกลุ่มเป้าหมาย

ได้ง่าย ๆ ในที่เดียว ผ่าน MyCustomer

อ่านเพิ่มเติม